บริการรับฝากขาย-เช่าที่ดิน บ้าน คอนโด ทำโฆษณาให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทร 082-515-9893

ขายที่ดินเปล่าบ้านเลื่อม หลังหมู่บ้านอุดรคำหอม เดอะริชบ้านเลื่อม(ใหม่) พื้นที่ 1ไร่ การเดินทางสะดวกบรรยากาศดี ราคาถูก เหมาะทำการเกษตร

ขายที่ดินเปล่าบ้านเลื่อม หลังหมู่บ้านอุดรคำหอม 

เดอะริชบ้านเลื่อม(ใหม่) 














รหัสทรัพย์สิน T6301
ข้อมูลทรัพย์สิน

ที่ตั้ง : หลังหมู่บ้านเดอะริชบ้านเลื่อม หมู่บ้านอุดรคำหอม(ชื่อเดิม)
ตำบล บ้านเลื่อม อำเภอเมืองอุดร จังหวัดอุดรธานี 41000

รายละเอียด :
ขายที่ดินเปล่าแปลงสวย เนื้อที่ 1 ไร่ (400 ตรว.)
การเดินทางสะดวก เหมาะซื้อไว้ลงทุน
หรือทำการเกษตร หรือทำกำไรในอนาคต
ราคาถูกที่ดินพร้อมโอน !!



สถานที่ใกล้เคียง/จุดเด่น :
- หลังหมู่บ้านเดอะริชบ้านเลื่อม
- สี่แยกบ้านเลื่อม เพียง 6 นาที
- ห่างจากหนองประจักษ์เพียง 4.5 km

ชมภาพคลิ๊กที่ :
ตำแหน่งแผนที่ google :  17.4391279258582,102.7474254135

ราคาขาย 650,000-. (1,625-/ตร.ว )


สนใจสอบถามและนัดชมได้ที่
คุณภาวิช 082-515-9893
Line: 0825159893
homecondo15@gmail.com
www.facebook.com/landcondoforsales4289


รับฝากขายที่ดินจังหวัดอุดรธานี
ยินดีให้คำปรึกษาและทำการตลาดให้ฟรีโดยทีมงานคุณภาพ

#ขายที่ดิน #ที่ดินอุดรธานี #ขายที่ดินบ้านเลื่อม #ขายหมู่บ้านอุดรคำหอม
#เดอะริชบ้านเลื่อมอุดร #ขายที่ดินอุดรธานีราคาถูก

ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอน ปี2564 ใครได้ผลประโยชน์

 

‘ลดค่าโอน-จำนอง’ บ้านไม่เกิน 3 ล้าน

หลังกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 รวม 2 ฉบับ กำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอน และจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ จากผู้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล ราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท



และกรณีการโอนและการจำนองห้องชุดในอาคารชุด จากผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด ราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 กรมที่ดินได้วางแนวปฏิบัติในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ดังนี้

1.เจตนารมณ์

เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง รวมถึงช่วยรักษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

2.การบังคับใช้

ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

3.หลักเกณฑ์ผู้ขาย

(1) ผู้จัดการที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย หรือ

(2) ผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

4.หลักเกณฑ์ผู้ซื้อ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเท่านั้น

5.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

5.1 ราคาซื้อขาย และวงเงินจำนองอสังหาริมทรัพย์

(1) ราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย

(2) มูลค่าจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย กรณีจำนองต้องจดทะเบียนขายและจำนองในคราวเดียวกันเท่านั้น

กรณีซื้อขายและจำนองเกินกว่า 3 ล้านบาทต่อหน่วย กรณีจำนองต้องจดทะเบียนขายและจำนองในคราวเดียวกันเท่านั้น

กรณีซื้อขายและจำนองเกินกว่า 3 ล้านบาทต่อหน่วย ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามปกติทั้งหมด

5.2 ประเภทอสังหาริมทรัพย์และหลักเกณฑ์

1.กรณีที่ดินพร้อมที่อยู่อาศัย ได้ลดสำหรับการโอน (ซื้อขาย) อย่างเดียว และการโอน (ซื้อขาย) แล้วจำนองในคราวเดียวกัน

ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 1) ต้องเป็นที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย

2) กรณีขายและจำนองที่ดินพร้อมอาคาร ได้รับลดทั้งที่ดินและอาคาร 3) กรณีขายที่ดินหลายแปลง พร้อมอาคารดังกล่าว จะได้รับลดเฉพาะที่ดินแปลงที่เป็นที่ตั้งอาคารเท่านั้น ส่วนแปลงที่เป็นที่ดินเปล่า แม้ขายรวมกันก็ไม่ได้รับลดค่าธรรมเนียม

4) กรณีที่ซื้อที่ดินจากผู้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย 5) ได้ลดเฉพาะกรณีที่อยู่อาศัยใหม่ 6) ที่ดินจัดสรรเปล่าไม่ได้ลดค่าธรรมเนียม

2.กรณีห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย

ได้ลดสำหรับการโอน (ซื้อขาย) อย่างเดียว และการโอน (ซื้อขาย) แล้วจำนองในคราวเดียวกัน

ภายใต้เงื่อนไข 1) ต้องเป็นห้องชุดที่เป็นที่อยู่อาศัยตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว (การขายห้องชุดเป็นห้อง ๆ) 2) ลดได้เฉพาะกรณีห้องชุดใหม่ 3) ลดให้เฉพาะกรณีซื้อจากผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดเท่านั้น

6.การลดค่าธรรมเนียม

6.1 ค่าธรรมเนียมการโอน (ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือห้องชุด) โดยราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย ได้รับลดค่าธรรมเนียมจากร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ (หากราคาซื้อขายเกินกว่า 3 ล้านบาท ไม่ได้รับลดค่าธรรมเนียม)
6.2 ค่าธรรมเนียมการจำนอง (อันเนื่องมาจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งได้รับลดค่าธรรมเนียมตามมาตรการนี้ และต้องจดทะเบียนจำนองพร้อมกับการโอนในคราวเดียวกันเท่านั้น) วงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย ได้รับลดค่าธรรมเนียมจากร้อยละ 1 ของวงเงินจำนองเหลือร้อยละ 0.01 ของวงเงินจำนอง (วงเงินจำนองเกิน 3 ล้านบาท ไม่ได้รับลดค่าธรรมเนียม)

6.3 การจดทะเบียนการโอนและการจดทะเบียนจำนองต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน

7.การเก็บภาษีอากร หัก ณ ที่จ่าย เรียกเก็บภาษีอากรตามปกติ

8.ประเภทการจดทะเบียน

8.1 การจดทะเบียนประเภทขาย แต่การจดทะเบียนประเภทขายฝาก ขายทอดตลาด ขายตามคำสั่งศาลโอนชำระหนี้ โอนชำระหนี้จำนอง หรือกรรมสิทธิ์รวมมีค่าตอบแทน ไม่ได้รับลดค่าธรรมเนียม

8.2 การจดทะเบียนประเภทจำนอง

(1) การจดทะเบียนจำนองต้องสืบเนื่องมาจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรการนี้ ภายหลังประกาศกระทรวงมหาดไทยใช้บังคับและได้รับการลดค่าธรรมเนียมการโอนด้วย กรณีได้มาโดยทางอื่น เช่น รับให้หรือรับมรดกแล้วนำมาจำนองไม่ได้รับลดค่าธรรมเนียม

(2) ต้องเป็นการจดทะเบียนจำนองเพื่อประกันหนี้ของผู้จำนอง (ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น) และเฉพาะมูลหนี้ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดตามมาตรการนี้เท่านั้น

ที่มา: /www.prachachat.net/columns/news-612011

ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน

ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน



ค่าใช้จ่าย ในการซื้อขายบ้าน ที่ดิน ณ กรมที่ดินมีรายการที่จะต้องเสียดังต่อไปนี้

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% 
ของราคาประเมินหรือราคาขาย ราคาไหนสูงกว่าก็ใช้ราคานั้นคิด
  • ค่าอากร 0.5%
ของราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน ถ้าต่ำกว่าให้ใช้ราคาประเมินคำนวณ
  • ค่าภาษี ธุรกิจเฉพาะ 3.3% 
ของราคาขาย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ จะคิดกับอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาแล้วขายออกไปภายในเวลา ไม่เกิน 5 ปี (หากมีการย้ายทะเบียนบ้านเจ้าบ้านเข้าอยู่ เกินกว่า 1 ปี ได้รับยกเว้นค่าภาษีนี้) ทรัพยสินที่เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้แล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรในข้อ 2
  • ค่าภาษีเงินได้ (ภงด.) มีการคิดแบบ ขั้นบันไดภาษี หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามจำนวนปีถือครอง (หลายขั้นตอน)


  • ค่าจดจำนอง หากบ้าน หรือที่ดิน  จำนองต่อกับธนาคาร จะเสียค่าจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง 
  • ค่าอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ 20บาท ค่าอากรตาม ป.37 5 บาท ค่าพยาน 20บาท




การคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ 
  • ค่า ภงด.จะต้องหาราคาประเมินที่ดิน ราคาประเมินสิ่งก่อสร้าง จำนวนปีถือครองแล้ว มาหักค่าเสื่อม ฯลฯ อีกหลายขั้นตอน ลองคิดแบบโดยประมาณ คร่าวๆ คือ คชจ.ทั้งหมดยกเว้น ข้อ5 . ให้คำนวณจากราคาประเมิน คูณ 5%)
  • หรือ คำนวณค่าใช้จ่ายการโอนของกรมที่ดิน




ข้อมูลค่าธรรมเนียมการโอนบ้านที่ดิน/คอนโด

มีคำถามเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนอยู่บ่อยๆ รวบรวมข้อมูลมาไว้ที่เดียวกัน 

ค่าธรรมเนียมการโอน:

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) = ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

2. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) = 2 % จากราคาประเมินของกรม

3. ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) = 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนที่กู้ทั้งหมด)

4. ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) = 0.50% ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม

5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินหนึ่งปี) = 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม


  • โดยทั่วไปค่าภาษีเงินได้ ผู้ขาย ควรเป็นผู้ออก
  •  ส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อ ควรเป็นผู้ออก 
  • ส่วนค่าธรรมเนียมส่วน อื่น แล้วแต่ตกลงกัน ว่าใครจะออกเท่าใด (จะออกคนละครึ่งหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด)   
  • แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้องออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางรายอาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือ ผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออกทั้งหมด (โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆ เหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว)
  • ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลงซื้อขายหรือก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีการโต้เถึยงเกิดขึ้นได้ในวันโอน 

         ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันภายหลังและไม่สามรถซื้อขายกันได้แม้อยู่ที่กรมที่ดินแล้วก็ตาม        

         ผู้ซื้อบ้านจากโครงการ ก็ควรอ่านรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนให้ละเอียด บางโครงการที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ มักปัดภาระมาให้ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายในการโอนทั้งหมด ซึ่งดูไม่ค่อยจะยุติธรรมสำหรับผู้ซื้อเท่าไหร่


คำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์โดยกรมที่ดิน:


ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน


กระทู้ถามตอบข้อสงสัย

- ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน
- ค่าอากรแสตมป์ ถือครองเกิน 5 ปีคิด 0.5% ของราคาที่สูงกว่า
แต่ถ้าไม่ถึง 5 ปีจะไม่คิด ให้ไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแทน
- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดเฉพาะถือครองไม่ถึง 5 ปี
คิดที่ 3.3% ของราคาที่สูงกว่า ถ้าเสียตรงนี้ก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- ภาษีเงินได้ของผู้ขาย คิดตามปี ต้องไปดูรายละเอียดการคำนวนต่างหาก
- ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (กรณีขอสินเชื่อธนาคาร)

คือ ต้องแยกรายละเอียดก่อนว่าค่าอะไร
บางอันคิดจากราคาประเมิน บางอันคิดจากราคาสูงสุดระหว่างราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

ค่าธรรมเนียมการโอนก็คิดจาก ยอดเงินซื้อขายครับ แต่.....
แต่มันมีพวกหัวใสครับ แจ้งยอดซื้อขายถูกๆ หรือไม่ก็แจ้งว่าโอนให้เฉยๆไม่คิดเงิน
เลยต้องมีราคากลางขึ้นมาครับ เพื่อป้องกันว่า ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม รัฐจะต้องเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่ต่ำกว่าราคากลาง (ราคากลางก็คือราคาประเมิน)

ตามปกติที่ถูกต้องตามกฏหมาย เจ้าหน้าที่ที่ดินจะต้องสอบถามราคาซื้อขายครับ
และเทียบกับราคาประเมิน ถ้าตัวไหนสูงกว่าให้เอาราคาตัวนั้นมาคิดค่าธรรมเนียมครับ
แต่ในทางปฏิบัติจริง เวลาโอนมักจะซิกแซกกันเป็นโอนในราคาประเมินไปเลย (เพราะเป็นราคาต่ำสุด ต่ำกว่านี้ไม่ได้แล้ว)  เพื่อจะได้เลี่ยงเสียค่าโอนกันถูกๆครับ



สรุปอีกทีคือ

1. ถ้าเป็นการโอนที่มีคนอำนวยความสะดวกให้เช่นการโอนบ้านแล้วติดจำนองของแบงค์ ปกติแบงค์เค้าจะอำนวยความสะดวกเคลียร์หน้าเสื่อให้แล้ว ดังนั้นค่าโอนจึงมักจะคิดจากราคาประเมินครับ

2. ถ้าเป็นการโอนกันเอง กรณีทั้งคนซื้อและคนขายไม่รู้เรื่องมาก่อน(มือใหม่ทั่วคู่) ก็จะโดนเจ้าหน้าที่ถามราคาซื้อขาย ถ้าดันตอบไปแพงกว่าราคาประเมินก็จะโดนค่าธรรมเนียมจากราคาซื้อขายครับ ถ้าตอบถูกกว่าราคาประเมินก็ได้ราคาประเมินครับ

3. ถ้าเป็นการโอนกันเอง และคนซื้อหรือคนขายรู้มาก เตี๊ยมกันมาก่อนและมีการเช็คราคาประเมินเรียบร้อย ถ้าโดนถามก็บอกราคาไปให้ต่ำกว่าราคาประเมิน เจ้าหน้าที่เค้าก็จะใช้ราคาประเมินคิดค่าธรรมเนียมครับ
----------------------
ส่วนค่าอื่นๆ ก็คิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ


- ค่าอากรแสตมป์ 

ปกติจะตามราคาซื้อขายจริงเท่านั้นครับ เว้นแต่ซื้อขายกันต่ำกว่าราคาประเมินจริงๆ(เน้นว่าจริงๆ) ถึงจะใช้ราคาประเมินครับ (อันที่จริงมันก็หลักการราคาอันไหนสูงกว่าเอาอันนั้นเหมือนเดิม)

เพราะอากรแสตมป์ ปิดตามราคาซื้อขายเพื่อประโยชน์ของคนซื้อและคนขายครับ ถ้าปิดต่ำกว่าเกิดคนซื้อเบี้ยวขึ้นมาคนซื้อสามารถจ่ายเงินแค่เฉพาะตามจำนวนที่ปิดอาการแสตมป์ได้ครับ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นคนขายไม่สามารถไปฟ้องร้องอะไรได้ด้วยนะครับ เพราะศาลถือราคาซื้อขายตามอากรแสตมป์ที่ติดครับ (ในทางเดียวกันถ้าติดเกิน คนขายก็โกงคนซื้อได้ โดยฟ้องเรียกเงินเพิ่มได้)


- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 

คิดเฉพาะถือครองไม่ถึง 5 ปี คิดที่ 3.3% ของราคาที่สูงกว่า ถ้าเสียตรงนี้ก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์

เห็นไหมครับว่าตรงนี้ก็เข้าหลักการเดิมคืออันไหนสูงกว่าเอาอันนั้น เพราะภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีของสรรพภากรครับ(จึงมั่วราคาไม่ได้ ไม่เหมือนค่าโอนที่ไม่มีบทลงโทษอะไร) ลองมั่วราคาไปสิครับโดยภาษีย้อนหลังอาน เพราะเงินซื้อขายมันไม่ใช่จำนวนน้อยๆ มันมีหลักฐานหาได้อยู่แล้วว่าซื้อขายกันเท่าไหร่

- ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง
อันนี้ตรงๆครับ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง ก็ย่อมขึ้นกับยอดจำนอง




ขอบคุณครับ

หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับที่ดิน


หนังสือมอบอำนาจ


กรมที่ดิน

โฉนดที่ดิน

วิธีเขียนหนังสือมอบอำนาจทำธุระเกี่ยวกับที่ดิน

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการมอบอำนาจ

การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง

                การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ถ้าหากกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดิน โดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน จะต้องมอบบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านตัวจริง ของผู้มอบอำนาจให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ 

              เหตุที่ต้องเอาตัวจริง เพราะถ้าจะมีการปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจก็จะต้องทำการปลอมบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านด้วย ทำให้ทำทุจริตได้ยากขึ้น หากใช้แต่ภาพถ่ายก็ทำปลอมง่ายซึ่งเรื่องนี้จะต้องเข้าใจว่าสำนักงานที่ดินต้องการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน(เจ้าของที่ดินและคนซื้อ) ไม่ใช่เพื่อการตุกติกให้ล่าช้าแต่อย่างใด หนังสือมอบอำนาจมีอยู่ 2 แบบ สำหรับที่ดินมีโฉนดแล้วแบบหนึ่งกับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด(หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเช่นบ้านอย่างเดียว)อีกแบบหนึ่ง หากจะใช้กระดาษอื่นควรเขียนข้อความอนุโลมตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน เพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง (ไปเข้าเว็บกรมที่ดินที่ http://www.dol.go.th ดาวน์โหลดแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจได้)



คำเตือนเพื่อรักษาประโยชน์ของเจ้าของที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้อง (ข้อความหลังใบมอบอำนาจ)

1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก,บ้านเรือน,โรง,ให้ชัดเจน

2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย

3.อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน

4. ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง

5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด

6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ 

7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือโนตารีปับลิค (notary public) รับรอง

บางเรื่องผู้มอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจจากทั้งสองฝ่ายคือเป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอนในกรณีเช่นนี้ผู้ มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็นผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย (มาตรา 805 แห่ง ป.พ.พ.)ในส่วนผู้รับซื้อหรือผู้รับสิทธิในนิติกรรมมีหน้าที่ระมัดระวังด้วยโดยจะต้องรู้จักตัวเจ้าของที่ดินที่แท้จริง ต้องรู้จักเจ้าของที่ดินว่ามีตัวตนและมีชีวิตอยู่หรือไม่ มีเจตนาจะขายที่ดินจริงหรือไม่ หากไม่รู้จักเจ้าของที่ดินที่แท้จริงเสียเลยย่อมเป็นการผิดวิสัย ถ้าไม่แน่ใจก็อาจขอตรวจดูหลักฐานที่ดินที่สำนักงานที่ดินก่อนได้ 

2. คำชี้แจงเพิ่มเติม

1. ให้ลอกเครื่องหมายที่ดินจากตัวโฉนดใส่ให้ครบทุกช่อง (ลอกให้หมดแม้ข้อความในวงเล็บ/ถ้ามีด้วย เช่น อำเภอเมือง(นครชัยศรี)) ซึ่งข้อความในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ยกเว้นเพียงคำว่า เลขที่........ซึ่งคนส่วนมากจะสงสัยว่าเลขที่อะไร เลขที่.......ในที่นี้หมายถึงเลขที่ดิน...
กับอีกเรื่องหนึ่งการนับอายุจะต้องนับปีย่างไม่ใช่ครบปีบริบูรณ์ เช่น 21 ปีบริบูรณ์เวลากรอกต้องใส่ว่า 22 ปี ทางที่ดินเขาถือปฏิบัติอย่างนี้มาตลอด

2. การเขียนหนังสือมอบอำนาจไม่มีข้อความตายตัว ตัวอย่างที่ยกมาให้ดูนี้มุ่งให้มีความชัดเจนที่สุดไม่ให้เกิดข้อสงสัย ข้อความจึงอาจต่างจากที่เคยพบเห็นได้ และบางกรณีผู้เขียนเองก็จงใจจะใช้ข้อความที่ให้
แตกต่างหรือสลับลำดับกันออกไปบ้าง ก็เพื่อให้เห็นว่าอย่างนี้ก็ใช้ได้ ในการกรอกข้อความถ้าหากช่องว่างไม่พอก็ให้เขียนลงไปในที่ว่างที่ต่อเนื่องกันได้จนครบข้อความที่ต้องการเขียน และให้สังเกตว่าจะต้องจบลงด้วยคำว่า “ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” เสมอ เพราะการมอบอำนาจให้ดำเนินการใด ๆ จะต้องมีการสอบสวนให้ถ้อยคำยืนยันเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมเสมอ 

3. เนื่องจากข้อความต่าง ๆ เป็นไปตามแบบพิมพ์แล้ว จะมีส่วนที่เปลี่ยนแปลงก็เฉพาะชื่อเรื่องกับสิ่งที่มอบหมายให้ดำเนินการเท่านั้น การให้ตัวอย่างจึงจะยกแต่ชื่อเรื่องและการมอบให้จัดการ รวมทั้งลักษณะเหตุการณ์จริงที่ทำให้เกิดการมอบอำนาจเท่านั้น (ให้พิจารณาเลือกตัวอย่างให้ตรงกับลักษณะเหตุการณ์จริง บางกรณีก็ดัดแปลงขอความเอาเองได้ตามรูปเรื่อง)

4. หนังสือมอบอำนาจหนึ่งฉบับจะมีคนมอบอำนาจร่วมกันหลายคนก็ได้ แต่ควรเป็นการมอบให้ขายด้วยกัน หรือซื้อด้วยกัน เพราะข้อความจะไม่สับสน และต้องกรอกอายุ ชื่อพ่อแม่ ให้ถูกต้องตรงกับลำดับชื่อคนมอบด้วย แต่ถึงแม้ว่าจะมอบอำนาจในฉบับเดียวกันได้ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ แล้วไม่ควรมอบอำนาจในฉบับเดียวกัน

5. หนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวกันจะมอบให้ดำเนินการหลายเรื่อง ก็ได้ไม่มีข้อห้าม แต่ต้องเขียนให้ชัดอย่าสับสน 

6. หนังสือมอบอำนาจต้องให้มีพยานเซ็นด้วยหนึ่งคน การให้คู่สมรสของผู้มอบอำนาจเซ็นเป็นพยานก็เป็นสิ่งที่ทำได้ และทำหนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมควบคู่ไปด้วย 

7.ในการพิมพ์นิ้วมือ กรมที่ดินให้ใช้พิมพ์หัวแม่มือซ้าย ไม่ใช่ข้างขวา เรื่องนี้เป็นวิธีการปฏิบัติมาแต่ต้นแล้วเพราะเขาเห็นว่ามือขวาส่วนใหญ่ใช้งานหนักลายมืออาจสึกมากกว่าด้านซ้าย(ไม่ต้องถามว่าแล้วคนถนัดซ้ายล่ะ นั่นมันก็จริงแต่เขาเอาส่วนใหญ่ไว้ก่อน)

8. หนังสือมอบอำนาจเมื่อทำขึ้นแล้วต้องรีบไปดำเนินการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากปล่อยไว้นานไปเจ้าหน้าที่อาจไม่ดำเนินการให้ เพราะไม่แน่ใจว่าผู้มอบอำนาจยังมีชีวิตอยู่ หรือว่ามีการยกเลิกหนังสือมอบอำนาจหรือไม่

9. กรณีที่คิดว่าจะเซ็นชื่อไม่คล้ายลายเซ็นเดิม และไม่สามารถไปดำเนินการด้วยตัวเองได้จริง ๆ ให้ผู้มอบอำนาจไปติดต่อที่อำเภอ เพื่อทำหนังสือมอบอำนาจต่อหน้านายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอจะดำเนินการให้และจะพิมพ์ข้อความรับรองว่าได้เซ็นต่อหน้าและประทับตรารับรองมาด้วย ปกติเมื่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเห็นมีคำรับรองมาก็จะดำเนินการจดทะเบียนให้ (แน่นอนว่าหลังตรวจสอบข้อมูลอื่น ๆ แล้วไม่ผิดพลาด)แม้ว่าลายเซ็นจะไม่คล้ายของเดิมมากนักก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามถ้าลายเซ็นผิดเพี้ยนไม่มีเค้าเดิมเลยเจ้าหน้าที่ก็อาจไม่ดำเนินการให้ เพราะปกติถ้ามาดำเนินการด้วยตนเองและลืมว่าเดิมเซ็นอย่างไร แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ให้ดูลายเซ็นเดิมก็มักจะจำได้ และเซ็นได้แบบมีเค้าเดิมมากและบางครั้งก็เซ็นได้ 


ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอำนาจ

เนื่องจากข้อความต่าง ๆ เป็นไปตามแบบพิมพ์แล้ว จะมีส่วนที่เปลี่ยนแปลงก็เฉพาะในช่อง “เรื่อง” กับช่อง “เป็นผู้มีอำนาจจัดการ” การให้ตัวอย่างจึงจะยกแต่ชื่อเรื่อง และการมอบหมายให้จัดการ รวมทั้งลักษณะเหตุการณ์จริงที่ทำให้เกิดการมอบอำนาจเท่านั้น (ให้พิจารณาเลือกตัวอย่างให้ตรงกับลักษณะเหตุการณ์จริงลักษณะของข้อเท็จจริงที่มีการมอบอำนาจและดัดแปลงข้อความเอาเองได้ตามรูปเรื่อง) กรณีคนมอบอำนาจเป็นเจ้าของคนเดียวและขายทั้งแปลง

1. ขายที่ดินอย่างเดียวและบนที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน 

เรื่อง.......ขายที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ) ในราคา.......บาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. ขายที่ดินพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินทั้งหมด
เรื่อง......ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้พร้อมสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน/ ตึก/ตึกแถว/เลขที่...)ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ) ในราคา......บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. ขายที่ดินอย่างเดียวไม่รวมสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดิน

เรื่อง.....ขายที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ) ในราคา............. บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ขายที่ดินโดยมีคนรับมอบอำนาจเป็นคนซื้อแต่เพียงผู้เดียว

เรื่อง.....ขายที่ดิน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง /รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ หรือใช้คำว่าผู้รับมอบอำนาจ)ในราคา.......และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเข้าทำการในนามตนเองได้ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

5. ขายที่ดิน โดยคนรับมอบอำนาจรับมอบอำนาจจากทั้งคนขายและคนซื้อด้วย

เรื่อง.....ขายที่ดิน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดิน(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง)แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ)ในราคา...และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ 
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

6. ขายที่ดิน โดยคนรับมอบอำนาจรับมอบจากทั้งคนขายและคนซื้อและขณะเดียวกับคนรับมอบอำนาจก็เข้าร่วมเป็นคนซื้อด้วย

เรื่อง.....ขายที่ดิน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดิน(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง) แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อทุกคน) ในราคา....และยินยอมให้ผู้รับอำนาจอำนาจทำการในนามตนเอง และเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


กรณีคนขายเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับคนอื่น

และมอบให้ขายเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น



เช่น นายแดงเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับนายเขียว นายแดงขายที่ดินส่วนของตนทั้งหมดให้แก่นางขาว
อย่างนี้เรียกว่านายแดงขายที่ดินเฉพาะส่วนของตน การมอบอำนาจทำดังนี้

1. ขายที่ดินเฉพาะส่วนอย่างเดียวและบนที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน 

เรื่อง.......ขายที่ดินเฉพาะส่วนไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินเฉพาะส่วนแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ) ในราคา.......บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. ขายที่ดินเฉพาะส่วนพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินทั้งหมด

เรื่อง......ขายที่ดินเฉพาะส่วนพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินเฉพาะส่วนแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้พร้อมสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน/ ตึก/ตึกแถว/เลขที่...)ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ) ในราคา.......บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. ขายที่ดินเฉพาะส่วนอย่างเดียวไม่รวมสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดิน

เรื่อง.....ขายที่ดินเฉพาะส่วนไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินเฉพาะส่วนแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่ (บอกชื่อคนขาย)ในราคา............. บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ขายที่ดินเฉพาะส่วนโดยมีคนรับมอบอำนาจเป็นคนซื้อ

เรื่อง.....ขายที่ดินเฉพาะส่วน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินเฉพาะส่วนแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อ/ขายให้ผู้รับมอบอำนาจ)ในราคา...
และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเข้าทำการในนามตนเองได้ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

5. ขายที่ดินเฉพาะส่วน โดยคนรับมอบอำนาจทำแทนทั้งคนขายและคนซื้อคนอื่นด้วยและคนรับมอบอำนาจเป็นหนึ่งในคนซื้อด้วย

เรื่อง.....ขายที่ดินเฉพาะส่วน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขายที่ดินเฉพาะส่วน(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง)แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ให้แก่(บอกชื่อคนซื้อทุกคน) ในราคา.....และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเข้าทำการในนามตัวเอง และเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


กรณีคนซื้อเป็นคนมอบอำนาจให้ซื้อทั้งแปลง


1. ซื้อที่ดินอย่างเดียวและบนที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน 

เรื่อง.......ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ ในราคา.......บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. ซื้อที่ดินพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินทั้งหมด

เรื่อง......ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน/ ตึก/ตึกแถว/เลขที่...)แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ในราคา............บาท ตลอดจนให้
ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. ซื้อที่ดินอย่างเดียวไม่รวมสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดิน

เรื่อง.....ซื้อที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ในราคา... บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ซื้อที่ดิน โดยคนรับมอบอำนาจรับมอบอำนาจทั้งจากคนขายและคนซื้อด้วย

เรื่อง.....ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง(หรือรวมสิ่งปลูกสร้างแล้วแต่กรณี)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ในราคา.....บาท
และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ 
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

5.ซื้อที่ดิน โดยคนรับมอบอำนาจรับมอบอำนาจจากทั้งผู้ขายและผู้ซื้อและผู้รับมอบอำนาจยังร่วมเป็นผู้ซื้อด้วย

เรื่อง...ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ในราคา.......และยินยอมให้
ผู้รับมอบอำนาจเข้ากระทำการในนามตนเองและเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


กรณีคนซื้อเฉพาะส่วนของเจ้าของคนใดคนหนึ่ง

เป็นคนมอบอำนาจ


เช่น นายแดง มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับนายเขียว นายดำต้องการซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของนายแดง 

1. ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนอย่างเดียวและบนที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน 

เรื่อง.......ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินเฉพาะส่วน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง)แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ จาก.......(บอกชื่อคนขาย..)ในราคา.......บาท.. ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ 
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนพร้อมกับสิ่งปลูกสร้าง

เรื่อง......ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน/ ตึก/ตึกแถว/เลขที่...)แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ในราคา........บาท จาก(บอกชื่อคนขาย) ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนอย่างเดียวไม่รวมสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดิน

เรื่อง.....ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง 

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนไม่รวมสิ่งปลูกสร้างแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ จาก (บอกชื่อผู้ขาย)ในราคา............. บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ซื้อที่ดินเฉพาะส่วน โดยคนรับมอบอำนาจทำแทนทั้งจากคนขายและคนซื้อด้วย

เช่น นายดำและนายสุขร่วมกันซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของนายแดง และนายดำรับมอบอำนาจจากทั้งนายสุขและนายแดงด้วย

เรื่อง.....ซื้อที่ดินเฉพาะส่วน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ซื้อที่ดินเฉพาะส่วน(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง)แปลงเครื่องหมายข้างบนนี้จาก (บอกชื่อคนขาย)ในราคา.....และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีให้ที่ดิน


1. เรื่อง ให้ที่ดิน (รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้ที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง/รวมบ้านเลขที่...) 
ให้แก่ นาย/นาง...โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. ให้ที่ดินเฉพาะส่วน
เรื่อง ให้ที่ดินเฉพาะส่วน (ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้ที่ดินเฉพาะส่วนแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุ) แก่นาย/นาง/นางสาว...โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. ให้ที่ดิน โดยคนรับให้เป็นคนรับมอบอำนาจจากผู้ให้ด้วย
เรื่อง ให้ที่ดิน
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้ที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุ) แก่นาย/นาง...)โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการในนามตนเองได้
ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ให้ที่ดินโดยคนรับมอบอำนาจทำแทนทั้งผู้ให้และผู้รับให้
เรื่อง ให้ที่ดิน
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้ที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุ)แก่นาย/นาง....โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และยินยอมให้ผู้รับอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีมอบอำนาจให้รับให้ที่ดิน

1. กรณีรับให้ทั้งแปลง
เรื่อง รับให้ที่ดิน(หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุ “พร้อมสิ่งปลูกสร้าง”
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ รับให้ที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ (หากให้พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุให้ชัดเจน) โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. กรณีรับให้ที่ดินเฉพาะส่วน และผู้ให้เป็นผู้รับมอบอำนาจทำแทนคนรับให้ด้วย
เรื่อง รับให้ที่ดินเฉพาะส่วน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง/รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ รับให้ที่ดินเฉพาะส่วนแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง) จาก นาย/นาง....โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการในนามตนเองได้ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. กรณีรับให้ โดยผู้รับมอบอำนาจทำการแทนทั้งผู้ให้และผู้รับให้
เรื่อง รับให้ที่ดิน
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ รับให้ที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากให้สิ่งปลูกสร้างด้วยให้ระบุ)
โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง(ตรงนี้จะใช้คำว่า “และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของผู้ให้”แทนก็ได้) ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวม

การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวม หมายถึงการให้คนอื่นเข้ามาร่วมถือกรรมสิทธิ์ด้วย โดยคนให้ถือกรรมสิทธิ์รวมจะยังมีชื่ออยู่เหมือนเดิมแต่สัดส่วนที่ดินจะลดลงไป ซึ่งต่างกับการจดทะเบียนประเภทให้ ซึ่งผู้ให้จะไม่มีชื่อในโฉนดอีกต่อไป และการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมนี้จะบอกว่าให้ถือรวมกี่ส่วนและจะมีค่าตอบแทนหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีค่าตอบแทนก็จะเท่ากับเป็นการขายนั่นเองแต่ถ้าไม่มีค่าตอบแทนก็เท่ากับเป็นการให้โดยเสน่หา

เช่น นายแดงเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งมีสี่ไร่ ต้องการขายให้นายดำหนึ่งไร่ในราคา 50000บาท โดยไม่ต้องการแบ่งแยกออกไปก่อน อย่างนี้ก็ต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมมีค่าตอบแทน ในการจดทะเบียนก็จะจดให้ชัดว่าให้นายดำเข้าถือกรรมสิทธิ์รวม 1 ในสี่ส่วน (1ไร่จากสี่ไร่)
 เมื่อจดทะเบียนแล้วก็จะมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันสองคน และทั้งคู่สามารถขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดออกตามสิทธิของแต่ละคนได้โดยต้องยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมพร้อมกัน

1.กรณีนี้เขียนใบมอบอำนาจกรรมสิทธิ์รวมโดยมีค่าตอบแทน โดยให้คนอื่นมาทำแทนเจ้าของที่ดิน ดังนี้
เรื่อง กรรมสิทธิ์รวม(พร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี) โดยมีค่าตอบแทน
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้นายดำเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้จำนวน หนึ่งในสี่ส่วน(จะแตกไร่เป็นตารางวาก็ได้จะเป็นว่า...จำนวน 400 ส่วน ใน 1600 ส่วน) (หากรวมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุให้ขัดเจน บ้านเลขที่...) โดยมีค่าตอบแทนห้าหมื่นบาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 

2. จากตัวอย่างใน 1. ถ้าหากนายแดงให้นายดำเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมฟรีๆ ไม่มีค่าตอบแทน และให้นายดำเป็นคนรับมอบอำนาจด้วย จะเขียนใบมอบอำนาจดังนี้เรื่อง กรรมสิทธิ์รวม(สิ่งปลูกสร้าง/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง)โดยไม่มีค่าตอบแทนเป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้นายดำเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้จำนวน 400ส่วนใน1600 ส่วน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการในนามตนเองได้ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3.กรณีคนขอเข้าถือกรรมสิทธิ์รวม(นายดำ)มอบอำนาจให้คนอื่นมาทำแทนเรื่อง ขอถือกรรมสิทธิ์รวม(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง/ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี) โดยมีค่าตอบแทนเป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขอถือกรรมสิทธิ์รวมที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้จากนายแดงจำนวน 400ส่วนใน1600 ส่วน (รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง)โดยมีค่าตอบแทน 50000 บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วน

การให้ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนก็มีได้เหมือนการจดทะเบียนอื่น ๆ เช่น    ให้ ขาย จำนอง
การเขียนหนังสือมอบอำนาจก็เป็นทำนองเดียวกับตัวอย่างที่ผ่านมาข้างต้นทั้งหมด
(เพียงดัดแปลงให้เข้ากับเรื่อง) จึงจะขอยกมาเพียงกรณีเดียวตัวอย่าง 
มอบอำนาจให้ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนมีค่าตอบแทน โดยมอบอำนาจให้คนขอเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมมาดำเนินการแทนเรื่อง กรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วน(ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง แล้วแต่กรณี)โดยมีค่าตอบแทนเป็นผู้มีอำนาจจัดการ ให้นาย/นาง...เข้าถือกรรมสิทธิ์รวม เฉพาะส่วนของข้าพเจ้าจำนวน...ส่วนใน...ส่วน (ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง/ถ้ารวมสิ่งปลูกสร้างระบุให้ชัด/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง) 
โดยมีค่าตอบแทน.....บาท และยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการในนามตนเอง ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


กรณีเกี่ยวกับการจำนองที่ดิน


1.มอบอำนาจให้ทำจำนองซึ่งคนรับจำนองเป็นคนธรรมดาที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

เรื่อง จำนองที่ดิน/หรือจำนองที่ดินเป็นประกัน

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ จำนองที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ (หากรวมสิ่งปลุกสร้างให้ระบุว่าพร้อมบ้าน ตึกเลขที่...)กับนาย/นาง...ในวงเงิน.....บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ...บาทต่อปี เพื่อประกันเงินกู้ ของนาย/นาง...ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. มอบให้จำนองกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน

เรื่อง จำนองที่ดินเป็นประกัน

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ จำนองที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าเพื่อประกันหนี้เงินกู้/หนี้.../หนี้ทุกลักษณะ)ของผู้จำนองและหรือของนาย/นาง...ที่
มีต่อธนาคารผู้รับจำนองในวงเงิน......บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ....ต่อเดือน/ปี นำส่งดอกเบี้ยเดือน/ปีละครั้ง โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงต่าง ๆ เป็นไปตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. รับจำนองโดยบุคคลธรรมดาเป็นผู้รับจำนอง

เรื่อง รับจำนอง(รวมสิ่งปลูกสร้าง)

เป็นผู้มีอำนาจัดการ รับจำนองที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากรวมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุให้ชัด
เป็นบ้าน/ตึก เลขที่...)ในวงเงิน.....บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ...บาทต่อเดือน/ปี เป็นการประกันหนี้เงินกู้ ของนาย/นาง...ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ไถ่ถอนจำนอง และมอบให้ขายในหนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวกัน

เรื่อง ไถ่ถอนจำนองและขาย

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ตามสัญญาจำนองฉบับลงวันที่....และจัดการขายให้แก่นาย/นาง...
(รวม/ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง) ในราคา......บาท ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีเกี่ยวกับการโอนมรดก


1. มอบให้รับโอนมรดก
เรื่อง รับโอนมรดกที่ดิน(หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุว่า “พร้อมสิ่งปลุกสร้าง”
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ รับโอนมรดกที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุให้ชัด) ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2. มอบให้จดทะเบียนผู้จัดการมรดก
เรื่อง ผู้จัดการมรดก
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้โดยพินัยกรรม/คำสั่งศาล....คดีหมายเลขแดงที่...
ลงวันที่....ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. ผู้จัดการมรดกโอนมรดกให้ทายาท
เรื่อง โอนมรดกที่ดิน((หากรวมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุ)
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ โอนมรดกที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากรวมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุให้ชัด) ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย/นาง...ตามพินัยกรรม/คำสั่งศาล....ให้แก่นาย/นาง....
ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4. รับโอนมรดกจากผู้จัดการมรดก
เรื่อง รับโอนมรดก(หากรวมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุ)
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ รับโอนมรดกที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้(หากรวมสิ่งปลูกสร้างให้ระบุให้ชัด) จากนาย/นาง....ผู้จัดการมรดกของนาย/นาง....ตามพินัยกรรม/คำสั่งศาล...คดีหมายเลขแดงที่....
ลงวันที่....ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


กรณีเกี่ยวกับการขอรังวัด

1. ขอแบ่งแยกในนามเดิม เป็นการที่เจ้าของที่ดินขอแบ่งที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย เมื่อแบ่งออกมาแล้วทุกแปลงจะยังมีชื่อเจ้าของเดิมทุกคน

เรื่อง แบ่งแยกในนามเดิม

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขอรังวัดแบ่งแยกในนามเดิมที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ นำช่างรังวัดปักหลักเขต
ที่ดิน และรับรองแนวเขตที่ดิน ถ้าทำการรังวัดแล้วได้รูปแผนที่หรือเนื้อที่ต่างจากเดิม ให้มีอำนาจยินยอมให้แก้รูปแผนที่และเนื้อที่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง แก้คำขอ(ถ้ามี)จดทะเบียนแบ่งแยกในนามเดิม วางและรับเงินมัดจำรังวัดที่เหลือคืน รับโฉนดที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


2. ขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ที่ดินแปลงหนึ่งมีเจ้าของหลายคน แต่ละคนต้องการแบ่งแยกที่ดินของตนออกมาถือโฉนดต่างหากจากคนอื่น ในการนี้จะต้องมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมว่าใครจะได้ตรงไหน เนื้อที่เท่าใด ก่อนถ้าไม่ตกลงกันก็แบ่งกรรมสิทธิ์รวมไม่ได้ ต้องไปฟ้องร้องต่อศาล

เรื่อง แบ่งกรรมสิทธิ์รวม


เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขอรังวันแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม นำช่างรังวัดปักหลักเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ถ้าทำการรังวัดได้รูปแผนที่หรือเนื้อที่ต่างจากเดิม ให้มีอำนาจยินยอมให้แก้รูปแผนที่เนื้อที่ให้ถูกต้อง
ตามความเป็นจริง แก้คำขอ(ถ้ามี) จดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม วางและรับเงินมัดจำรังวัดที่เหลือคืน รับโฉนดที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. สอบเขตที่ดิน เกิดขึ้นในกรณีที่เจ้าของที่ดินต้องการรู้เขตที่แน่ชัดของที่ดิน ดูว่ามีใครรุกล้ำ หรือมีรูปแผนที่หรือเนื้อที่ผิดพลาดหรือไม่

เรื่อง สอบเขตที่ดิน


เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ นำช่างรังวัดปักหลักเขตที่ดิน และรับรองแนวเขตที่ดิน ถ้าทำการรังวัดได้รูปแผนที่เนื้อที่ต่างจากเดิม ให้มีอำนาจยินยอมให้แก้รูปแผนที่เนื้อที่หมายเลขหลักเขตในโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง 
แก้คำขอ(ถ้ามี) วางและรับเงินมัดจำรังวัดที่เหลือคืน รับโฉนดที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีขอใบแทนโฉนดที่ดิน

เรื่อง ขอใบแทนโฉนดที่ดิน

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขอใบแทนโฉนดที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ ซึ่งโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินได้ ชำรุด/สูญหาย (และได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจ...ตามบันทึกประจำวัน
ลงวันที่...) รับใบแทนโฉนดที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีมอบอำนาจให้อายัดที่ดิน


เรื่อง อายัดที่ดิน

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


กรณีมอบอำนาจให้ขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน

เรื่อง ขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน

เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ เพื่อนำไปแสดงต่อศาล.../สถานีตำรวจ...เพื่อประกอบการพิจารณาขอประกันตัว นาย/นาง/...ในคดีความผิดหรือข้อหา...(หรือเพื่อนำไปแสดงต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงิน...เพื่อประกอบการพิจารณาการขอกู้ยืม) ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ 
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กรณีขอตรวจหลักฐานที่ดิน


เรื่อง ตรวจหลักฐานที่ดิน
เป็นผู้มีอำนาจจัดการ ยื่นคำขอตรวจหลักฐานที่ดินแปลงเครื่องหมายข้างบนนี้ 
ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ศัพท์อังกฤษเกี่ยวกับการมอบอำนาจ 

(เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในวงการกฎหมายและ real estate)power of attorney หนังสือมอบอำนาจ บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า power อีกคำหนึ่งคือ letter of attorney ก็หมายถึงหนังสือมอบอำนาจเช่นกันแต่คำนี้ไม่นิยมใช้เท่าอันแรก(the) attorney-in-fact ตัวผู้รับมอบอำนาจ(เป็นคำมีลักษณะเป็นทางการ)

  • donor of the power of attorney ผู้มอบอำนาจ(เป็นตัวการหรือ principal)
  • donee of the power of attorney ผู้รับมอบอำนาจในความหมายทั่วไป บางที่ก็เรียกสั้น ๆ ว่า attorney ก็ได้
  • general power of attorney หนังสือมอบอำนาจทั่วไป
  • special power of attorney หนังสือมอบอำนาจเฉพาะเรื่อง
  • enduring power of attorney หนังสือมอบอำนาจเผื่อกรณีเจ็บป่วยช่วยตัวเองไม่ได้เพื่อจัดการบางอย่าง
  • บางทีก็เรียกว่า living will
  • ในต่างประเทศมีกฎหมายให้มีหนังสือมอบอำนาจแบบนี้ใช้กันมากแล้ว แต่ประเทศไทยยังล้าหลัง
  • revocation of power of attorney การยกเลิกหนังสือมอบอำนาจ
เครดิตโดย: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=landclinic&group=15


1 like คือกำลังใจให้เรา หากเนื้อหาดี อย่าลืมแชร์บอกเพื่อนๆนะครับ ^_^

โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส.

“โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส. เพื่อคุณ”

“โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส. เพื่อคุณ”
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินและทำนิติกรรมภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2562
ทั้งนี้ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว เนื่องจากมีวงเงินจำกัดกำหนดเงื่อนไขการให้วงเงินลูกค้าที่ทำนิติกรรมก่อนได้สิทธิก่อน

วัตถุประสงค์การยื่นกู้

  • เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
  • เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัยพร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลัก
หมายเหตุ
  • นิยามคำว่า “อาคาร”หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นแฟลตและบ้านเช่า
  • เป็นการกู้ใหม่ โดยการถือกรรมสิทธิ์ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อรายย่อย

วงเงิน / ระยะเวลาผ่อน

วงเงิน

  • วงเงินให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2,000,000 บาท

ระยะเวลาผ่อน

  • ไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน และไม่เกิน 40 ปี โดยอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้น กรณีข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่นๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

อัตราดอกเบี้ย

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ
ปีอัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1
= 3.00% ต่อปี
ปีที่ 2 
= 4.00% ต่อปี
ปีที่ 3
= 5.00% ต่อปี
ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา= MRR-0.75% ต่อปี
ยกเว้นกรณีกู้ซื้ออุปกรณ์= MRR
  • กรณีขอกู้ซื้ออุปกรณ์ฯ พร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลักที่มีการแบ่งจ่ายเงินกู้เป็นงวดตามผลงานการก่อสร้าง บัญชีซื้ออุปกรณ์ฯ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตลอดอายุสัญญา เท่ากับ MRR

ค่าธรรมเนียม / ค่าใช้จ่าย

ผู้กู้ได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้
  1. ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (0.1% ของวงเงินกู้)
  2. ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติ

  • ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ (Gross) ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน
  • ไม่มีประวัติการผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับ ธอส. และสถาบันการเงินอื่น

เอกสาร

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

เอกสารทางการเงิน

พนักงานประจำ
  • ใบรับรองเงินเดือน / หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ)
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  • สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
  • รูปถ่ายกิจการ

เอกสารหลักประกัน

  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะและหนังสือรับรองยอดคงเหลือ (กรณีซื้อ)
  • หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอ เลขหมายบ้าน สำเนาสัญญาซื้อขายฉบับสำนักงานที่ดิน (ทด.13 หรือ อ.ช.23)
  • สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
  • สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า  
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
  • แบบแปลน
  • ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  • อื่น ๆ (ถ้ามี)
หมายเหตุ **  ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารต่างๆของผู้กู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร **