บริการรับฝากขาย-เช่าที่ดิน บ้าน คอนโด ทำโฆษณาให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทร 082-515-9893

แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN)




บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN)

บริษัทได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของ บริษัททุกรอบ 3 ปี เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน โดย คำนึงถึงความสมดุลของผลตอบแทนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพต่อผู้ มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อีกทั้งยังคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล จริยธรรม และคุณธรรม รวมถึงการกำหนดพันธกิจในแต่ละปีเพื่อให้สอดคล้อง กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซี่งขับเคลื่อนด้วยสมรรถนะหลัก ของพนักงานในองค์กร (Core Competency) ที่หล่อหลอมมาจาก ประสบการณ์ในการเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 โดยในปัจจุบัน บริษัทได้พัฒนาสมรรถนะหลักดังกล่าวให้กลายมาเป็นคุณค่าองค์กร (Corporate Values) ที่แฝงอยู่ในจิตวิญญาณของบุคลากรทุกระดับ
ผู้นำด้านการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยสำหรับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง

ดำรงไว้ซึ่งความเป็นผู้นำตลาด และเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยแบบบูรณาการ เพื่อการสร้างสรรค์ชุมชนคุณภาพ

มุ่งมั่นดำเนินการในการรักษาภาวะผู้นำ ด้านการพัฒนา อาคารชุดพักอาศัย ด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม และพึงพอใจ ของผู้อยู่อาศัยในชุมชน โดยที่ยังคงไว้ซึ่งผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการธรรมาภิบาล

เป็นผู้นำในการพัฒนาที่พักอาศัยในเมือง ด้วยการสร้างสรรค์ และส่งมอบคุณค่าแบบบูรณาการ แก่ผู้มีส่วนได้เสียใน การดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและ การเติบโตอย่างยั่งยืน

ผู้ถือหุ้น :
สร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการธรรมาภิบาล
ลูกค้าและผู้อยู่อาศัย :
สร้างสรรค์ ส่งมอบ พร้อมรักษาคุณค่าของสินค้าและบริการ อันก่อ ให้เกิดความผูกพัน ภายใต้วัฒนธรรม “ห่วงใยและแบ่งปัน” เพื่อนำไปสู่ “ชุมชนน่าอยู่”


สังคมและสิ่งแวดล้อม :
ส่งเสริมและมีส่วนร่วม ในการสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมกับทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปิยมิตรทางธุรกิจ :
สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้วัฒนธรรม “ห่วงใยและแบ่งปัน” ร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลตอบแทนที่เหมาะสมและ เติบโตร่วมกัน

พนักงาน :
เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม เพื่อ ความสุข ความผูกพัน ความก้าวหน้ามั่นคง ภายใต้วัฒนธรรม “ห่วงใยและแบ่งปัน” มุ่งสู่ “องค์กรแห่งคุณค่า”

ค่านิยม LPN คือ คุณค่าในการดำเนินธุรกิจที่ทุกองคาพยพของบริษัท ยึดถือและนำไปปฏิบัติ ซึ่งพัฒนามาจากสมรรถนะหลักของบุคคลากร (Core Competency) ในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานในทุกภาคส่วนบรรลุเป้าหมายและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Collabolation ความร่วมมือร่วมใจ
ความหมาย : การดำเนินงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ และช่วยเหลือซึ่ง กันและกันให้บรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร ด้วยการแบ่งปันข้อมูล มุมมอง และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

Collabolation to one LPN
จากจิตสำนึกของความร่วมมือร่วมใจของพนักงานทุกส่วนงานและ ทุกระดับ รวมไปถึงบริษัทย่อย นำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของ องค์กร (One LPN) โดยไม่แยกแยะว่าเป็นหน่วยงานหรือบริษัทใด บริษัทหนึ่ง

L -Lateral Thinking คิดนอกกรอบ
ความหมาย : การคิดค้น พัฒนา เปลี่ยนแปลง แนวทาง กลยุทธ์ใน การดำเนินงาน หรือกระบวนการใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยมี เป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ

Lateral Thinking to Dynamic คิดนอกกรอบ พัฒนาไปสู่ ความยืดหยุ่น และพร้อมเปลี่ยนแปลง

ในปัจจุบันโลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกันอย่างต่อเนื่องและ เข้มข้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การคิดนอกกรอบของ พนักงาน จะส่งผลให้เกิดการปรับตัวและมีความยืดหยุ่นในการดำเนิน งาน (Dynamic-Flexibility) เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์การดำเนินงาน ขององค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา

A- Alliance
ความหมาย : การปฏิบัติต่อพันธมิตรธุรกิจที่ทำงานร่วมกันมายาวนาน และไว้วางใจได้ ด้วยการร่วมมือสนับสนุน และพัฒนาการทำงาน เสมือนหนึ่งเป็นองค์กรเดียวกัน นำไปสู่เป้าหมายร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย

A- Alliance to LPN Team ปิยมิตรพัฒนาไปสู่ LPN Team
จากการปฏิบัติต่อพันธมิตรธุรกิจของบริษัท นำไปสู่แนวคิดในการ พัฒนาพันธมิตร เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานในองค์กร (In House) ที่ให้ ความไว้วางใจและจงรักภักดีต่อบริษัท (Trust + Loyalty) และพร้อมที่ จะก้าวไปสู่อนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

S-Speed รวดเร็ว
ความหมาย : การดำเนินงานและรับผิดชอบต่อปัญหาในการทำงาน ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการด้วยความรวดเร็ว โดยต้องคำนึงถึง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพด้วย

S-Service Minded ใจรักบริการ
ความหมาย : การดูแล เอาใจใส่ลูกค้าทุกกลุ่มตลอดเวลา จากมุม มองของลูกค้าด้วยความกระตือรือร้นเต็มใจ เพื่อเพิ่มคุณค่าของการ ให้บริการอย่างครบวงจร
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ขายผลิตภัณฑ์พร้อมบริการ บริษัท จึงพัฒนาแนวคิดของการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของ ลูกค้า ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการให้บริการที่ดีไม่ได้สิ้นสุดแค่การส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ แต่รวมถึงการบริการหลังการเข้าอยู่อาศัย ซึ่ง ได้ก่อให้เกิดนิยาม “ชุมชนน่าอยู่” ที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกระดับ ในทุกมิติของการบริการ

I - Integrity คุณธรรม
ความหมาย : การปฏิบัติตนต่อองค์กรและผู้เกี่ยวข้อง ด้วยความ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ โปร่งใส และมีศีลธรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ในโลกที่องค์กรธุรกิจมีการแข่งขันอย่างรุนแรงและมีความเสี่ยงสูง หลักธรรมาภิบาลถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในการดำเนินงาน โดยเฉพาะองค์กรมหาชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบ ที่ผ่านมา บริษัทได้ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมี คุณธรรมในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ซึ่งส่งผลให้ LPN เป็น บริษัทที่ดำเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาลมาโดยตลอด

C - Cost with Quality บริหารต้นทุนพร้อมคุณภาพ

ความหมาย : การบริหารงานพัฒนาโครงการโดยมุ่งเน้นการลดต้นทุน ทางตรง และต้นทุนแฝง รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินในทุกส่วนงาน โดยไม่กระทบเป้าหมายและคุณภาพที่กำหนดไว้

การบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายเป็นจุดแข็งที่สำคัญของบริษัท โดย เฉพาะการบริหารต้นทุนด้านผลิตภัณฑ์ (Product Cost) ซึ่งถือเป็น กลยุทธ์ขององค์กรที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับกลาง- กลางล่าง ให้สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในราคาที่ไม่สูงจนเกิน ไป (Affordable Price) โดยบริษัท ประสบความสำเร็จกับตลาดระดับนี้ เป็นอย่างมาก ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการพัฒนาการดำเนิน งานที่มุ่งเน้นการบริหารต้นทุนควบคู่ไปกับการควบคุมคุณภาพ

2532
จุดเริ่มต้นธุรกิจ

บริษัทถือกำเนิดขึ้นจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพที่มีความ มุ่งมั่นร่วมกันในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพให้แก่ สังคมไทย โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2532 ด้วยทุนจด ทะเบียน 50,000,000 บาท และเริ่มต้นพัฒนาโครงการ “ลุมพินี ทาวเวอร์” อาคารชุดสำนักงานสูง 37 ชั้น แห่งแรกบนถนน พระราม 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน 

2533 - 2536
ร่วมลงทุนใน บริษัท พรสันติ จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ พี.เอส.ที. คอนโดวิลล์ เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท คิดเป็น สัดส่วนการลงทุนร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้ว 50,000,000 บาท โดยบริษัทเป็นผู้บริหารโครงการดังกล่าว

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้น ร้อยละ 99.88 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ประเภทโครงการอาคารชุดพักอาศัย โดยเฉพาะ การประกอบธุรกิจให้บริการด้านการบริหารชุมชนแก่นิติบุคคล อาคารชุดของโครงการต่างๆ ที่บริษัทและบริษัทย่อยพัฒนาขึ้น เป็นการให้บริการหลังการขายและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ ชีวิตของลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท ถือเป็นนโยบายในการ สร้างความแตกต่าง และเป็นจุดแข็งในการแข่งขัน

 เพิ่มการลงทุนในบริษัท พรสันติ จำกัด เป็นร้อยละ 99.99 ของทุน ชำระแล้ว 200,000,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท

2537-2539
ภายในระยะเวลา 5 ของการดำเนินงาน บริษัทได้จดทะเบียน แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2537 ทะเบียนเลขที่ บมจ.477 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ รับบริษัทเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใช้ชื่อหลักทรัพย์ว่า “LPN” และได้ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 9,200,000 หุ้น เพื่อจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท และราคาเสนอขายต่อหุ้น 64 บาท ซึ่งต่อมาได้เพิ่มทุน เป็น 460,000,000 บาท เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537

 ร่วมลงทุนในบริษัท Elec & Eltek (Guangzhou) Real Estate Development Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ฮ่องกง เป็นจำนวนเงิน 12,720,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้ว

 ร่วมลงทุนในบริษัท เอ็น.ที.เอ็น. คอนกรีต จำกัด ซึ่งประกอบ ธุรกิจประเภทวัสดุก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน 10,200,000 บาท หรือ 1,020,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน หรือ มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

 บริษัทลงนามในสัญญากู้เงินตราต่างประเทศกับธนาคารชั้นนำ 5 แห่ง ของประเทศสิงคโปร์ เป็นยอดเงินรวม 20,000,000 เหรียญ อายุสัญญา 3 ในอัตราดอกเบี้ย SIBOR+1.20% เพื่อนำมาใช้ พัฒนาโครงการแอล.พี.เอ็น. สุขุมวิท ทาวเวอร์

2540 – 2541
บริษัทประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจ และผลกระทบจากอัตรา แลกเปลี่ยน อีกทั้งสถาบันการเงินหยุดการสนับสนุนเงินกู้เพื่อ การก่อสร้าง ในขณะที่บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถึง 3 โครงการ รวมถึงลูกค้าหยุดการผ่อนชำระ ทำให้ขณะนั้นบริษัทมีหนี้ สินเกินกว่าจะชำระได้ บริษัทจึงจำเป็นต้องหยุดการจ่ายดอกเบี้ย กับสถาบันการเงิน รวมถึงปรับเปลี่ยนแผนการก่อสร้างโดยมุ่ง ดำเนินงานเฉพาะในโครงการที่ใกล้แล้วเสร็จด้วยการสนับสนุนที่ดี ยิ่งจากปิยมิตรของบริษัท

 ขยายงานบริการของบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด เนื่องจากเล็งเห็นช่องว่างของตลาดในช่วงภาวะซบเซาทาง เศรษฐกิจและเพื่อเป็นการรักษาบุคลากร จึงได้ขยายส่วนงานบริการ ต่างๆ ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาด เช่น งานบริการ ระบบรักษาความปลอดภัย งานบริการรักษาความสะอาด งาน ซ่อมบำรุงระบบปรับอากาศ เป็นต้น

ปรับโครงสร้างองค์กรและพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรเพื่อให้ สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นายจำลอง รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ได้ขอลาออกจากประธานกรรมการ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ และ นายพงส์ สารสิน ขอลาออกจากกรรมการ เนื่องจากภารกิจใน ขณะนั้นทำให้ไม่สามารถให้เวลาได้เต็มที่ คณะกรรมการจึงได้เรียน เชิญนายโมรา บุณยผล เข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการแทน


ถอนการลงทุนใน Elec & Eltek (Guangzhou) Real Estate Development Ltd. เนื่องจากมีการชะลอโครงการตามแผนการ พัฒนา ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้บริษัทขาด สภาพคล่อง การถอนการลงทุนในครั้งนี้มีผลทำให้บริษัทกำไรใน ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 3,390,000 บาท 

2542
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2542 บริษัทได้แต่งตั้ง บริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ และการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท โดยร่วมกันกำหนด แนวทางในการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายรวม ถึงการวางแผนงานเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2542 เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2542 ณ ห้องประชุมใหญ่ของบริษัท เพื่อพิจารณา เรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจากเดิม 460,000,000 บาท เป็น 3,983,000,000 บาท โดยการออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นสามัญ เพื่อการเพิ่มทุนจำนวน 352,300,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวมจำนวน 3,523,000,000 บาท

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้บริษัทขายเงินลงทุนในหุ้นของบริษัท เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต จำกัด ในมูลค่าหุ้นละ 0.01 สืบเนื่องมาจาก ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในขณะนั้น ทำให้บริษัท เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจการค้าวัสดุก่อสร้างต้องประสบภาวะขาดทุน และสว่ นของผู้ถือหุ้นติดลบ อีกทั้ง บริษัท เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต จำกัด ไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทได้

บริษัทสามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการ เงินใน2542 คิดเป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 3,132,610,000 บาท และ สามารถสรุปแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ส่วนที่เหลือในมูล หนี้ประมาณ 170 ล้านบาทเรียบร้อยในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 จึง ถือได้ว่าบริษัทสามารถทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ทั้งหมดใน มูลหนี้รวมทั้งสิ้น 3,305,930,000 บาท
2544


บริษัทริเริ่มการพัฒนาซิตี้คอนโดในเมือง ในขณะที่ผู้ประกอบการ รายอื่นต่างชะลอการพัฒนาโครงการใหม่ โดยเริ่มที่โครงการลุมพินี เพลส สาทร เป็นแห่งแรก และได้รับการตอบรับอย่างดี จนเป็นต้น แบบของการพัฒนาซิตี้คอนโดของผู้ประกอบการอื่นๆ ในระยะต่อมา

เดือนพฤศจิกายน 2544 บริษัทได้ตกลงทำสัญญาร่วมทุนกับบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เยาววงศ์ จำกัด โดยได้จัดตั้งบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อป เมนท์ จำกัด ขึ้นเพื่อพัฒนาโครงการสร้างค้าง คือ โครงการ วอเตอร์คลิฟ อาคารชุดพักอาศัยบนถนนรัชดา-พระราม 3 ที่หยุด ดำเนินการตั้งแต่2540 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยบริษัทร่วม ทุนดังกล่าวได้เข้าฟื้นฟูและพัฒนาโครงการใหม่ภายใต้ชื่อ ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ โดยบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการบริหารการตลาด การขาย และ บริหารงานก่อสร้างทั้งโครงการ รวมถึงการเจรจากับกลุ่มผู้ซื้อเดิม
2545

บริษัทชำระหนี้คืนตามแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ทั้งหมด กลายเป็นบริษัทที่ “ไม่มีหนี้สิน หากแต่มีบุคลากรซึ่งบริษัทรักษา ไว้และได้รับการหล่อหลอมในช่วงวิกฤติให้กลายเป็นทรัพย์สินที่มี คุณภาพและดำรงตัวตนความเป็น LPN จนถึงปัจจุบัน”

 ซิตี้คอนโดทุกโครงการของบริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมทุนกับปิยมิตรเพื่อพัฒนาอาคารที่ยัง สร้างค้างไว้จนเสร็จสมบูรณ์

 อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนจาก 3,983,000,000 บาท เป็น 460,000,000 บาท โดยเป็นการลดส่วนของหุ้นที่ยังไม่ได้นำ ออกจำหน่าย และเพิ่มทุนจดทะเบียน จำนวน 750,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนรวม 1,210,000,000 บาท พร้อมกับการแก้ไข เพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิให้สมบูรณ์สอดคล้องกัน

 การเพิ่มทุนจำนวน 750,000,000 บาท เป็นการออกหุ้นสามัญ 75,000,000 หุ้น แบ่งเป็น

 27,600,000 หุ้น สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม ในสัดส่วน 5 หุ้นเดิมมี สิทธิซื้อ 3 หุ้นใหม่

 29,900,000 หุ้น สำหรับการใช้สิทธิแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นหุ้นสามัญ

 17,500,000 ล้านหุ้น สำหรับการแปลงหนี้เป็นทุนของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

 ใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 29,900,000 หน่วย แบ่งเป็น
ใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 27,600,000 หน่วย จัดสรรแก่ผู้ถือ หุ้นเดิม ที่ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในอัตราส่วน 1 หุ้น ใหม่ต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 2,300,000 หน่วย จัดสรรแก่กรรมการ และพนักงานบริษัทจำนวนไม่เกิน 35 ราย

 บริษัทได้แต่งตั้ง บริษัท ยูไนเต็ด แอ็ดไวเซอร์รี่ เซอร์วิส จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท

2546-2547

 จากความสำเร็จของบริษัทในการพัฒนาที่พักอาศัยโดยเฉพาะ ซิตี้คอนโดใจกลางเมืองในระดับราคาล้านบาทต้นๆ ทำให้บริษัท ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภท อาคารชุดพักอาศัยระดับกลาง

 ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำ2547 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 มีมติให้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิม หุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นของบริษัท เพิ่มขึ้นจากเดิม 121,000,000 หุ้น เป็น 1,210,000,000 หุ้น นอกจากนี้ยังได้อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 276,706,550 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,486,706,550 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 1,486,706,550 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท บริษัทเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด จาก 25% เป็น 33.33%

2548-2549
ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำ2549 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 มีมติอนุมัติลดทุนจดทะเบียนจาก 1,486,706,550 บาท เป็น 1,475,698,768 บาท โดยตัดหุ้นสามัญส่วนที่เหลือจาก การสำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน 11,007,782 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท และอนุมัติแก้ไข หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 4 ของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับการ ลดทุนจดทะเบียน 

2550-2552
 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการร่วมลงทุนในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงจาก เดิมร้อยละ 33.33 เป็นร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนเรียกชำระ แล้ว และได้จัดตั้งบริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด ขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการด้านการบริหารงานก่อสร้าง

 เนื่องจากวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Subprime) ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ทางการเมือง ของประเทศไทยในช่วงปลาย2551 มีผลกระทบต่อตลาด เงินในประเทศและก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ส่งเสริมให้บริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดโครงการซื้อ หุ้นคืนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทนุ ดงั นนั้ ทปี่ ระชมุ คณะ กรรมการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ครั้ง ที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 จึงได้มีมติอนุมัติโครงการ ซื้อหุ้นคืน เนื่องจากราคาหุ้นในตลาดช่วงนั้นตํ่ากว่าปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัท โดยกำหนดวงเงินที่จะใช้ในการซอื้ คนื เปน็ จำ นวนเงิน 200,000,000 บาท โดยมีจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนประมาณ 62 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 4.20 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด คือ 1,475,698,768 หุ้น และเป็นการซื้อเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเท่านั้น โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 23 เมษายน 2552

 ตามมติคณะกรรมการบริษัทที่ให้จัดทำโครงการซื้อหุ้นคืน (Treasury Stocks) เมื่อ2551 นั้น บริษัทได้ซื้อหุ้นคืนจำนวนทั้งสิ้น 8,146,300 หุ้น ในราคาเฉลี่ย 2.19 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวน เงินทั้งสิ้น 17,840,397 บาท และได้ขายหุ้นซื้อคืนจำนวนดังกล่าว ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2552 ในราคาเฉลี่ย 7.01 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวนเงินรวม 57,103,415 บาท ซึ่งบริษัทได้กำไรจาก การขายหุ้นซื้อคืนนี้จำนวนทั้งสิ้น 39,262,226 บาท

2554 

บริษัทได้แยกฝ่ายรักษาความสะอาดออกมาจากบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) และจัดตั้งเป็นบริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำกัด (LPC) ขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการด้านรักษาความสะอาด เพื่อสร้าง อาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สตรีด้อยโอกาส ด้วยทุน จดทะเบยี น 1,000,000 บาท โดยกำหนดเป้าหมายระยะยาวของ บริษัทดังกล่าวให้ดำเนินงานในลักษณะขององค์กรเพื่อสังคม (Social Enterprise)


ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

บริษัทลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน)

หรือ "ลลิล" เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2531 ช่วงที่เศรษฐกิจไทยถูกขานว่ายุคทอง โดย ทวีศักดิ์ วัชรรัคคาวงศ์ และไชยยันต์ ชาครกุล จากโครงการทาวน์เฮาส์ โครงการแรกที่ชื่อ ลัลลี่ วิลล์ ที่ถนนศรีนครินทร์ และธูปะเตมีย์ จำนวนรวม 800 หลัง

บนพื้นที่ 88 ไร่ มูลค่าโครงการรวม 1.1 พัน ล้านบาท มาถึงปัจจุบันบริษัทพัฒนาโครงการมาแล้วไม่น้อยกว่า 50 โครงการ มูลค่าการพัฒนารวมหลักหมื่นล้านบาทในห้วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา โดยมียอดขายเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาทต่อปี และรายได้รวมอยู่ระหว่าง 1.5-2 พันล้านบาทต่อปี
 
 ถึงแม้ "ลลิล" จะมีอายุยาวนานกว่า 25 ปี เมื่อเทียบยอดขายกับบริษัทที่มีอายุไล่เลี่ยกันหรือหลายบริษัทที่ก่อตั้งในช่วงหลังปี 2531 จะเห็นว่า บริษัทมีอัตราการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปและบางช่วงเวลาบริษัทก็ชะลอการขยายตัวด้วยแนวคิดในการทำธุรกิจแบบอนุรักษนิยมของผู้บริหาร อย่าง "ไชยยันต์ ชาครกุล" ที่เน้นการทำธุรกิจแบบค่อยเป็นค่อยไปประมาณช้าแต่แน่นอน ทำให้บริษัทผ่านวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาได้โดยที่ไม่ได้รับผลกระทบเหมือนกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง ก่อนบริษัทมาถึงจุดเปลี่ยน เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2545 ซึ่งห้วงเวลานั้น ถือว่าดีที่สุดของ บริษัทลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) เพราะสามารถรั้งตำแหน่งเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการติดอันดับ 1 ใน 3 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มียอดขายและรายได้สูงสุดในห้วงเวลานั้นเป็นรองแค่บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) และบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) โดยมีผู้บริหารที่ชื่อ ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต รองกรรมการผู้จัดการในขณะนั้นมีส่วนในการผลักดันธุรกิจของบริษัทให้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
แต่เมื่อเกิดวิกฤติซับไพรม์ในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงปี 2551 จนเกิดความวิตกกังวลว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไชยยันต์ ตัดสินใจชะลอการลงทุน ในขณะที่ประเสริฐ หนึ่งในทีมบริหาร ตัดสินใจ ลาออกไป ร่วมงานกับ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) ผลจากสถานการณ์ภายนอกและการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้การดำเนินธุรกิจของ "ลลิล" กลับเข้าสู่ยุคระมัดระวังอีกครั้ง บริษัทชะลอแผนการลงทุนในโครงการใหม่ เน้นการขายโครงการเก่าที่มีอยู่ในมือเป็นหลัก
และในห้วงเวลาที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก กระโจนเข้าสู่การพัฒนาคอนโดมิเนียม ในช่วงปี 2545-2553 "ลลิล" คงยืนหยัดอยู่ที่การพัฒนาโครงการในแนวราบที่พัฒนาอยู่เดิม และยึดหลักการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดตัวโครงการใหม่เฉลี่ยไม่เกิน 2 โครงการต่อปีมูลค่าไม่เกิน 2 พันล้านบาท ทำให้ "ลลิล" ขยับจากบริษัทอสังหารริมทรัพย์ดาวรุ่งมาอยู่ลำดับกลางๆ โดยขนาดและรายรับห่างจาก บริษัทชั้นนำอย่างบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) บริษัทแสนสิริ จำกัด(มหาชน) และอีกหลายบริษัทที่เปิดแนวรุกการพัฒนาโครงการทั้งแนวราบและแนวสูงไปพร้อมๆ
**ตัดสินใจใหม่
ต่อมาในปี 2554 ลลิล เริ่มมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ภายใต้ชื่อ Levo Condo ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารรุ่นที่ 2 ทายาทของไชยยันต์ อย่าง ชูรัชฏ์ ชาครกุล ที่เข้ามาดูโครงการพัฒนาคอนโดมิเนียม หลังการปรับโครงสร้างธุรกิจจากเดิมที่พัฒนาโครงการภายใต้การบริหารงานของไชยยันต์ ชาครกุล เป็นหลัก มาเป็น 3 ส่วนงานที่แบ่งการบริหารงานออกเป็นส่วนงานพัฒนาโครงการในแนวราบ ส่วนงานพัฒนาโครงการแนวสูง และส่วนงานพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด นับเป็นการปรับกลยุทธ์ครั้งล่าสุดของบริษัทหลังจากปี 2545

การเปิดแนวรุกทางธุรกิจในครั้งนี้ บริษัทกำหนดยุทธศาสตร์ไม่ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในตลาดที่พัฒนาโครงการทั้งแนวราบ แนวสูง และต่างจังหวัด เพื่อรักษาอัตราการเติบโตของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ทำให้บริษัทมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากระดับ 1,500 ล้านบาทก่อนปี 2553 ปรับเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยในปี 2553 มีรายได้ 1,709.39 ล้านบาท กำไรสุทธิ 326.54 ล้านบาท ปี 2554 รายได้รวม 1,867.14 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 293.50 ล้านบาท ปี 2553 และงวด 9 เดือนปี 2555 มีรายได้ 1,097.50 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 157.14 ล้านบาท
และมีเป้าหมายรายได้ไม่น้อยกว่า 2,250 ล้านบาทในปี 2556 หรือมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอัตราร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีแผนเปิดโครงการใหม่มากเป็นประวัติการณ์คือ 10 โครงการ มูลค่าไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท
เรียกว่าเป็นการเปิดแนวรุกอีกครั้งเมื่อทายาทรุ่นที่ 2 เข้ามาบริหารงาน หลังจากที่ปล่อยให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ วิ่งแซงหน้าไปหลายช่วงตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่การเปิดแนวรุกครั้งนี้จะสามารถวิ่งตามคู่แข่งได้ทันหรือไม่คงต้องติดตามกันต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,818 วันที่ 14 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แผนอสังหาฯปี 2556 นอกเมืองหลวงระอุ



ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี"55 กลายเป็นปีทองของตลาด "ต่างจังหวัด" อานิสงส์เกิดจากหลังน้ำท่วมใหญ่ทำให้เกิดความต้องการซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียมหลังที่ 2 ไว้หลบภัยธรรมชาติ บวกกับเศรษฐกิจต่างจังหวัดเติบโตดีจึงเกิดดีมานด์จากคนท้องถิ่น

จากรอยต่อปี"55-56 ดีกรีความร้อนแรงของการลงทุนเปิดตัวโครงการในทำเลต่างจังหวัด โดยผู้ประกอบการบิ๊กแบรนด์อสังหาฯจากกรุงเทพฯยังฮอตต่อเนื่อง ผู้ประกอบการหลายรายฟันธง

ตรงกัน...เทรนด์กำลังเป็นขาขึ้น ! เนื่องจากพืชผลการเกษตรหลัก อาทิ ข้าว ยางพารา ฯลฯ มีราคาดี


8 บิ๊กแบรนด์ไล่เปิด 13 จังหวัด


จากการสำรวจแผนธุรกิจปี"56 ของผู้ประกอบการอสังหาฯชั้นนำ 8 ราย ได้แก่ บมจ.แสนสิริ, บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท, บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.ศุภาลัย, บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ หรือ LPN, บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้, บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น, และ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค พบว่ามีแผนพัฒนาโครงการในต่างจังหวัดรวมกว่า 55 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกันกว่า 45,800 ล้านบาท

(ไม่รวมแอล.พี.เอ็น.ฯที่ยังไม่สรุปตัวเลข)

ในจำนวนนี้แยกเป็น "แสนสิริ" ประมาณ 14 โครงการ รวมมูลค่าขาย 14,700 ล้านบาท "ศุภาลัย" ไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ กว่า 8,000 ล้านบาท "แลนด์ฯ" 9 โครงการ ประมาณ 8,500-9,000 ล้านบาท "พฤกษาฯ" 9 โครงการ ประมาณ 6,300 ล้านบาท

"LPN" 4 โครงการ (ยังไม่สรุปมูลค่าโครงการ) "ลลิลฯ" 5 โครงการ ประมาณ 1,900-2,000 ล้านบาท "เอสซีฯ" 2 โครงการ ประมาณ 3,800 ล้านบาท "เพอร์เฟค" 2 โครงการ ประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท โดยพบว่า 2 ภูมิภาค "ตะวันออก-อีสาน" คือภูมิภาคที่แข่งขันกันรุนแรงแน่นอน

ชลบุรี...ศึกช้างชนช้าง


เมื่อลงรายละเอียด "ชลบุรี" ทำเลที่ครอบคลุมทั้งเมืองพัทยา ศรีราชา และตัวเมือง กลายเป็นจังหวัดที่ฮอตที่สุด มีผู้ประกอบการ 6 ใน 8 รายจะเข้าไปลงทุน โปรดักต์มีครบทั้งโครงการแนวราบ-แนวสูง อาจเป็นเพราะด้วยศักยภาพจังหวัดที่เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ

ค่ายอสังหาฯที่มีแผนลงทุนออกมาค่อนข้างชัดเจนคือ "เอสซีฯ" จะส่งคอนโดฯแบรนด์ "เซ็นทริค" บุกตลาดกว่า 900 ยูนิต ราคาเริ่มต้นตารางเมตรละ 80,000 บาท มูลค่าโครงการ 2,400 ล้านบาท ตามต่อด้วย "พฤกษาฯ" จะเปิดตัวบ้านจัดสรร 2 โครงการแบรนด์ "พฤกษานารา" ในทำเลพัทยาและหนองมน ระดับราคายูนิตละกว่า 2-3 ล้านบาท กับ "ลลิลฯ" จะเปิดตัวบ้านจัดสรร 1 โครงการ ราคาไม่เกิน 2-5 ล้านบาท

ส่วนเจ้าพ่อคอนโดฯตลาดกลาง-ล่างอย่าง "LPN" จะเปิดตัวคอนโดฯเฟสใหม่ต่อเนื่องใน 2 โครงการ คือ ลุมพินี คอนโดทาวน์ ชลบุรี-สุขุมวิท กว่า 1,000 ยูนิต เจาะกำลังซื้อคนท้องถิ่น ราคาเริ่มต้นประมาณ 6 แสนบาท และในโครงการลุมพินีพาร์คบีช จอมเทียน เฟสใหม่ซึ่งยังไม่สรุปแผน คาดว่าจะมีราคาเริ่มต้น 1 ล้านกลาง ๆ เจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการคอนโดฯตากอากาศ

นอกจากนี้มี "แสนสิริ" และ "ศุภาลัย" ที่จะพัฒนาโครงการเช่นกัน

"อุดรฯ-ขอนแก่น" แอบร้อนแรง


จังหวัดที่คึกคักตามมาติด ๆ มีโครงการจ่อผุดพรึ่บ พบว่ามี 4 จังหวัดด้วยกัน คือ "อุดรธานี-ขอนแก่น-เชียงใหม่-ภูเก็ต" แต่ละจังหวัดมี 4-5 บริษัทที่ประกาศแผนจะเข้าไปลงทุน

เริ่มจาก "อุดรฯ" มี 5 บริษัทประกอบด้วย "ศุภาลัย-แสนสิริ-แลนด์ฯ-ลลิลฯ-LPN" โดยค่ายที่สตาร์ตแรง คือ "LPN" เตรียมเขย่าตลาดคอนโดฯระดับกลางที่อุดรฯด้วยการส่งแบรนด์ "ลุมพินีเพลส" ราคาเริ่มต้นยูนิตละประมาณ 1.5 ล้านบาทรวดเดียวกว่า 2,000 ยูนิต บนที่ดินใจกลางเมืองกว่า 10 ไร่

ขณะที่อีก 3 บิ๊กแบรนด์ "ลลิลฯ-ศุภาลัย-แลนด์ฯ" คาดว่าจะพัฒนาบ้านแนวราบ ขณะที่ "แสนสิริ" ยังอุบไต๋รายละเอียดโครงการ

นอกจากนี้มีกระแสข่าวว่าค่าย "เอพี-เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ฯ" ได้ซุ่มซื้อที่ดินเตรียมพัฒนาโครงการไว้แล้ว รวมถึง "เอสซี แอสเสทฯ" ก็ให้ความสนใจเข้าไปลงทุน โดยสนใจพัฒนาบ้านจัดสรรเจาะเรียลดีมานด์

"ราคาที่ดินในอุดรฯขยับขึ้นเร็ว ที่ดินโซนใจกลางเมืองตอนนี้ราคาตารางวาละแสนกว่าบาทก็มี บางแปลงก็ซื้อขายกันที่ความพอใจ ยอมรับว่าอุดรฯเจริญเร็ว มีห้างเซ็นทรัลโรงแรมเซ็นทารา และยูดีทาวน์ (คอมมิวนิตี้มอลล์) แทบจะเหมือนกรุงเทพฯ" คำกล่าวของ "พี่มีน-โอภาส ศรีพยัคฆ์" เอ็มดีของ LPNส่วนที่ขอนแก่นมี "พฤกษาฯ-แสนสิริ-แลนด์ฯ-ลลิลฯ" เตรียมจะเข้าไปลงทุน โดยพฤกษาฯและลลิลฯจะลงทุนโครงการแนวราบ ส่วนแสนสิริและศุภาลัยยังต้องติดตาม

"เชียงใหม่" เมืองปราบเซียน ?


จากอีสานขึ้นเหนือมาที่ "เชียงใหม่" ปีนี้ส่อเค้าแข่งขันกันหนัก หลังจากปลายปีก่อนศุภาลัยสร้างเซอร์ไพรส์ ปิดการขายคอนโดฯไฮไรส์แบรนด์ "ศุภาลัย มอนเต้ @ เวียงเชียงใหม่" 734 ยูนิต แบบม้วนเดียวจบภายในวันเดียว เช่นเดียวกับค่ายแสนสิริที่ไปได้ดีกับแบรนด์ "ดีคอนโด แคมปัส รีสอร์ท" เจาะกลุ่มผู้ปกครองซื้อไว้ให้นักศึกษาพักอาศัย ก็จองเกลี้ยง 546 ยูนิตในวันเดียว นำมาสู่การจุดพลุคลื่นลงทุนในปีนี้

โดยรายที่ประกาศจะลงสนามอสังหาฯเชียงใหม่ในปี"56 มี 4 บิ๊กแบรนด์ ทั้ง "แลนด์ฯ-แสนสิริ-ศุภาลัย-เพอร์เฟค" โดยค่ายแลนด์ฯเตรียมเปิดตัวคอนโดฯแบรนด์ราคา 2 ล้านบาทบวกลบ คาดว่าจะใช้แบรนด์ "นอร์ท" ถึง 3 โครงการในปีนี้

ส่วนเพอร์เฟคเตรียมเปิดตัวบ้านเดี่ยวราคา 4-7 ล้านบาท จำนวน 180 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 900 ล้านบาท ขณะที่ "แสนสิริ-ศุภาลัย" ยังไม่เผยรายละเอียด


"ภูเก็ต" ปะทุศึกแชมป์ชนแชมป์


ข้ามฟากมาที่ "ภูเก็ต" ยังคงเป็นดีเวลอปเปอร์หน้าเดิม ๆ "แลนด์ฯ-พฤกษาฯ-แสนสิริ-ศุภาลัย" ที่จะช่วงชิงกำลังซื้อ ค่ายที่น่าจะบุกหนักสูสีกันเป็นคู่ของ "พฤกษาฯ vs แสนสิริ" จากแผนล่าสุดแต่ละรายน่าจะเปิดตัวทั้งปีอย่างน้อย 4 โครงการ

เริ่มจาก "พฤกษาฯ" จะเปิดตัวทาวน์เฮาส์แบรนด์พฤกษาวิลล์ 2 โครงการ ราคาเฉลี่ย 1.8-2 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวแบรนด์เดอะแพลนท์ 1 โครงการ รวมถึงคอนโดฯราคา 1 ล้านต้น ๆ อีกกว่า 1,000 ยูนิต ส่วน "แสนสิริ" จะบุกตลาดภูเก็ตมากที่สุด ขณะนี้กำหนดแผนเปิดตัวทั้งปีไว้ 4 โครงการ

นอกจากนี้ก็ยังมีจังหวัดขอนแก่น เพชรบุรี (ชะอำ) ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) ระยอง นครราชสีมา สงขลา ที่หลายบริษัทเตรียมจะพัฒนาโครงการ

เป็นที่น่าสังเกตว่าการพัฒนาเริ่มไปถึงจังหวัดรองอย่าง "มหาสารคาม" ที่แสนสิริจะเข้าไปลงทุนกับ "สุราษฎร์ธานี" ที่ศุภาลัยเงื้อง่าจะเปิดตัวบ้านจัดสรร

เบ็ดเสร็จรวมแล้วมีอย่างน้อย 13 จังหวัดที่จะเป็นบิ๊กแบรนด์อสังหาฯ 8 รายกระโจนเข้าไปลงทุนในปีงูเล็ก !


ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ