การขายทอดตลาด ขั้นตอนการประมูลทรัพย์ โดย กรมบังคับคดี
.jpg) |
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม |
.jpg) |
การขายทอดตลาด |
 |
กฏระเบียบขายทอดตลาด |
|
|
1. ระเบียบ,ข้อกฎหมายและประกาศเจ้าพนักงาน  |
2. หลักการขายทอดตลาด  |
3. วิธีการและขั้นตอนการประมูลทรัพย์  |
4. ประกาศให้ทราบ  |
|
 |
|
1. การขายทอดตลาดที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้ผู้เข้าสู้ราคาลงชื่อ พร้อมที่อยู่ในสมุดรายงานการขายทอดตลาด
2. ผู้ที่เข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่น ต้องแสดงใบมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ก่อนการขายทอดตลาด ถ้าไม่แสดงใบมอบอำนาจ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถือว่า ผู้เข้าสู้ราคากระทำในนามของตนเอง ซึ่งถ้ามีกรณีจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้เข้าสู้ราคาจะขอเปลี่ยนใส่ชื่อบุคคบอื่น โดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทนมิได้
3. การเข้าสู้ราคาใช้วิธีให้ราคาด้วยปากเปล่า หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า ราคาต่ำไป เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจถอนทรัพย์ออกจากการขายทอดตลาดได้
4. เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นราคาสมควรจะขานราคา พร้อมทั้งนับ 1 - 3 ในระหว่างนี้ผู้อื่นอาจเข้าสู้ราคาอีกได้ และก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ ผู้ให้ราคาสูงสุด อาจถอนคำสู้ราคาได้ โดยไม่ต้องผูกพันการให้ราคาของตน
5. การขายทอดตลาดบริบูรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขานราคา พร้อมทั้งนับ 3 และเคาะไม้
6. ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องวางเงินเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนเงินคนละ 50,000.- บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ และหากซื้อได้ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคาพร้อมทำสัญญาชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไป
7. หากผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดไม่วางเงินตามเงื่อนไข และเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์นั้น ขายทอดตลาดใหม่ได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อเดิมให้ไว้ ผู้ซื้อเดิมจะต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น |
|
 |
|
ด้วยกรมบังคับคดีได้รับการร้องเรียนจากจำเลย หรือผู้ที่ประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์หลายรายว่า ได้มีบุคคลมาทำการข่มขู่ หรือเรียกร้องเอาทรัพย์สิน เพื่อจะได้ไม่สู้ราคาให้สูง หรือเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ขายให้แก่ผู้ประมูลในราคาต่ำ หรือให้งดการขายกรมบังคับคดีขอเรียนว่า เจ้าพนักงานบังคับคดี มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้ออ้าง หรือการกระทำของบุคคลดังกล่าว การขายทอดตลาดนี้ ได้ดำเนินการตามคำสั่งศาล หากมีผู้หนึ่งผู้ใดเรียกร้องเงินจากผู้ประมูลซื้อทรัพย์ หรือจำเลยก็ตาม ขอได้โปรดแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบเพื่อ กรมบังคับคดีจะได้ดำเนินคดีอาญากับบุคคลดังกล่าวต่อไป |
|
 |
|
ราคาสมควรขาย | เพิ่มราคาไม่น้อยกว่า
ครั้งละ |
ต่ำกว่า 50,000 บาท | 1,000 บาท |
ตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท | 2,000 บาท |
เกิน 100,000 - 300,000 บาท | 5,000 บาท |
เกิน 300,000 - 500,000 บาท | 10,000 บาท |
เกิน 500,000 - 700,000 บาท | 20,000 บาท |
เกิน 700,000 - 1,000,000 บาท | 30,000 บาท |
เกิน 1,000,000 - 5,000,000 บาท | 50,000 บาท |
เกิน 5,000,000 - 20,000,000 บาท | 100,000 บาท |
เกิน 20,000,000 - 50,000,000 บาท | 200,000 บาท |
เกิน 50,000,000 - 80,000,000 บาท | 500,000 บาท |
เกิน 80,000,000 บาท ขึ้นไป | 1,000,000 บาท |
|
|
อัตราการเพิ่มราคาที่กำหนดไว้ดังกล่าวให้ใช้ในการขายทอดตลาดแต่ละรายโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะมีการเสนอราคาสูงขึ้นเพียงใดก็ตาม
|
|
หลักเกณฑ์ใหม่ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์
|
|
1 | ให้เจ้าพนักงานแจ้งราคาประเมินขณะยึดหรือราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาสำนักงานวางทรัพย์กลาง (ถ้ามี) แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากัน ลงในประกาศขาย ทอดตลาดเพื่อให้คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนผู้สนใจได้ทราบ ทั้งนี้ไม่กระทบถึงประกาศขายทอด ตลาดที่ได้ประกาศไปแล้วก่อนที่อธิบดีจะให้ความเห็นชอบ |
2 | ในการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มต้นเป็นจำนวนร้อยละแปดสิบของ ราคา ตามข้อ 1. โดยให้ปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น เช่น ราคาประเมินสูงสุด ตามข้อ 1. เท่ากับ 1,340,000 บาท ราคาเริ่มต้นที่ 1,080,000 บาท เป็นต้น |
3 | ให้เจ้าพนักงานถือเอาราคาเริ่มต้นตามข้อ 2. เป็นราคาที่สมควรขาย |
4 | หากมีราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ได้กำหนดไว้ ให้ถือเอาราคาของคณะกรรมการฯ เป็นราคาเริ่มต้นและเป็นราคาที่สมควรขาย |
|
|
 |
|
1. วิธีการและขั้นตอนการประมูล
- 1.1 หลักฐานที่จะต้องนำมาในประมูลอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างห้องชุด ฯลฯ)
- (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนารับรองถูกต้อง 1 ฉบับ
- (2) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ซื้อต้องส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
- (3) กรณีประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าประมูลแทน ต้องมีใบมอบอำนาจ ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท และมีหลักฐานตามข้อ (1)
- (4) เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายหน่วยงานที่ผู้เข้าร่วมประมูลเข้าประมูล เช่น ผู้เข้าร่วมประมูลเข้าประมูลทรัพย์ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี ให้สั่งจ่ายสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้รับเงินเพื่อใช้เป็นหลักประกันการเข้าสู้ราคาตามจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดไว (บางคดีหากมีพฤติการณ์ ปรากฎว่าเป็นการประวิงคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดเงื่อนไขในการวางประกันเป็นจำนวนเงินร้อยละ 5 ของราคาที่เคยมีผู้เสนอราคาสูงสุด) เว้นแต่ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคู่สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว และผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์แล้วไม่วางเงินหลักประกัน
- 1.2 วิธีการประมูลซื้อทรัพย์ กรณีประมูลซื้ออสังหาริมทรัพย์ ( ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุด ฯลฯ)
- (1) ผู้เข้าสู้ราคาต้องกรอกรายละเอียดของผู้ซื้อในบัตรลงทะเบียน พร้อมวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเป็นประกันการเข้าสู้ราคาต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เว้นแต่ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือคู่สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้วหรือผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์แล้ว ไม่ต้องวางเงินหลักประกัน
- (2) ผู้เข้าสู้ราคา เมื่อวางหลักประกันแล้วจะได้รับป้ายประมูลราคาจากเจ้าพนักงาน เพื่อใช้สำหรับเสนอราคาจากนั้นเข้าไปนั่งในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้
- (3) การกำหนดราคาเริ่มต้นของเจ้าพนักงานกำหนดดังนี้
- ครั้งแรกในราคาร้อยละ 80 ของราคาประเมิน
- ครั้งที่ 2 ในราคาร้อยละ 50 ของราคาประเมินแต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดในครั้งก่อน
- 1.3 เมื่อประมูลทรัพย์ได้แล้ว ต้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันซื้อเป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ประมูลไม่สามารถชำระเงินส่วนที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดเวลา 15 วัน และได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงิน ซึ่งต้องระบุเหตุผลและความจำเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายให้อีกตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ไม่เกิน 3 เดือนและไม่ว่ากรณีใด ๆ จะไม่มีการขยายเวลาวางเงินให้อีก ถ้าไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้เสร็จภายในกำหนดดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะริบมัดจำที่วางไว้และนำทรัพย์ออกขายทอดตลาดใหม่ หากขายทอดตลาดต่อไปได้ราคาสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด ผู้ประมูลต้องชดใช้ให้เต็มจำนวนที่ประมูลไว้ในครั้งก่อนและต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการขายทอดตลาดครั้งหลังนี้ด้วย
2. หากประมูลได้แล้ว ผู้ประมูลได้ต้องการขอสินเชื่อจากธนาคารใดก็ต้องติดต่อสอบถามหลักเกณฑ์ของธนาคารนั้น ๆ โดยตรง |
|
 |
ประกาศ |
|
|
เครดิต: http://branch.led.go.th
|
|