ประวัติความเป็นมาของ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน
ราคาประเมินที่ดินใหม่ 2558
![]() |
ราคาประเมินที่ดินในเขตกรุงเทพ แพงสุด 5 อันดับแรก |
ขอบเขตราคาประเมินที่ดินใหม่
สำนักประเมินราคาทรัพย์สินจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยเป็นหน่วยงานภายในกองวิชาการ กรมที่ดิน ในชื่อ "สำนักงานกลางกำหนดราคาที่ดินและโรงเรือน" ต่อมาในปี 2527 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบงานประเมินราคาทรัพย์สิน ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนซื้อขาย ในปี 2543 ได้เปลี่ยนเป็นสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน และได้โอนมาสังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการ
|
1. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม กล่าวคือ ผู้มีเงินได้มากเสียภาษีมาก ผู้มีเงินได้น้อยเสียภาษีน้อย2. ทำให้ผู้ที่ถูกเวนคืน ได้รับเงินค่าทดแทนตามราคาที่มีการซื้อขายกันจริงในท้องตลาด เมื่อรัฐต้องจ่ายเงินค่าทดแทนเวนคืน 3. ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถทราบมูลค่าของทรัพย์สินของตน ในโอกาสที่นำทรัพย์สินนั้นไปวางเป็นประกัน เช่น ประกันหนี้จำนอง ประกันผู้ต้องหา หรือในโอกาสอื่น เช่น การจัดทำงบประมาณเพื่อจัดซื้อที่ดิน เป็นต้น
1. ทางอินเตอร์เน็ต ในขณะนี้ประชาชนผู้สนใจจะขอทราบราคาประเมินที่ดินในพื้นที่ที่มี |
ต้องการทราบราคาประเมิน | ผู้สอบถามจะต้องมีข้อมูล |
ที่ดินรายแปลง | หมายเลขโฉนดที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ระวาง ตำบล เขตและจังหวัด |
โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง | ประเภทสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่อาคาร ปีที่ก่อสร้าง จังหวัดที่ตั้งอาคาร |
ห้องชุด | ชื่ออาคารชุด ชั้นที่ตั้งของห้องชุด ทะเบียนอาคารชุด จังหวัดที่ตั้งอาคารชุด กรณีห้องชุดใน กทม. ขอทราบอำเภอ (เขต) ตำบล (แขวง) ด้วย |
3. การสอบถามที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน ในกรณีราคาประเมินที่ดินรายบล็อก ซึ่งจะมีแผนที่ประกอบบัญชีราคาประเมิน ผู้สนใจต้องการทราบราคาประเมินจะต้องทราบตำแหน่งที่ตั้งที่ดินในแผนที่ประกอบบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์บัญชีฯ ดังกล่าว
สามารถติดต่อขอดูได้ที่ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร B ชั้น 6
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
E-mail pvb@treasury.go.th http://www.treasury.go.th กรมธนารักษ์
![]() |
กรมธนารักษ์ |
![]() |
การเช็คราคาประเมินที่ดินใหม่ |
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเสนอในที่ประชุมครม.เพื่อประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่2555 ที่จะใช้ในรอบปีบัญชี 55-58 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1ก.ค.ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป หลังจากที่เลื่อนการบังคับใช้ออกไป 6 เดือนจากเดิมที่จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อบรรเทาผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในช่วงปลายปี 54
ที่ผ่านมาทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ราคาไม่ได้ปรับลงเลย ทั้งที่เป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วม และนอกพื้นที่น้ำท่วม แสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ชัดเจนว่า ความสามารถในการซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ยังดี
มีการซื้อขายที่ดินเพื่อการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ แสดงถึงทิศทางการฟื้นตัวชัดเจน ภาครัฐจึงไม่จำเป็นต้องขยายเวลาผ่อนผันออกไป เพราะมีผลต่อ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอน หรือ ค่าใช้จ่ายการโอนบ้านและที่ดิน
“ เราประเมินภาพโดยรวมแล้วเห็นว่า เป็นเวลาที่เหมาะที่จะประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่ ซึ่งจะสะท้อนความเป็นจริงและจะเป็นผลบวกต่อคนที่มีดินและต้องการสินเชื่อด้วยการใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ ”
สำหรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ที่จะประกาศในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้น
เฉลี่ย 20% และพื้นที่ในเขตอุทกภัย เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-10% ซึ่งยังสูงกว่า ราคาประเมิน จึงยังไม่มีผลกระทบอะไร โดยราคาที่ประกาศใหม่พื้นที่ราคาประเมินสูงสุดยังคงเป็นที่ดินบริเวณสีลม ส่วนราคาประเมินต่ำสุดยังอยู่ที่บริเวณเขตบางขุนเทียน และหากประกาศไปแล้วเห็นว่า ราคาไม่สะท้อนความเป็นจริงก็สามารถเสนอเรื่องมายัง กรมธนารักษ์ เพื่อพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
เฉลี่ย 20% และพื้นที่ในเขตอุทกภัย เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-10% ซึ่งยังสูงกว่า ราคาประเมิน จึงยังไม่มีผลกระทบอะไร โดยราคาที่ประกาศใหม่พื้นที่ราคาประเมินสูงสุดยังคงเป็นที่ดินบริเวณสีลม ส่วนราคาประเมินต่ำสุดยังอยู่ที่บริเวณเขตบางขุนเทียน และหากประกาศไปแล้วเห็นว่า ราคาไม่สะท้อนความเป็นจริงก็สามารถเสนอเรื่องมายัง กรมธนารักษ์ เพื่อพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
บริเวณพื้นที่ที่มีราคาประเมินที่ดิน
สูงสุดของประเทศ 5 อันดับคือ
- ย่านสีลม ช่วงแยกศาลาแดง ถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ตารางวาละ 850,000 บาท เพิ่มขึ้น 31% จากรอบบัญชี ปี 51-54ราคาตารางวาละ 650,000 บาท
- ถนนราชดำริ แยกราชประสงค์ถึงคลองแสนแสบ เพิ่มขึ้น ตารางวาละ 350,000 บาท
- ถนนพระรามที่ 1 แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ เพิ่มขึ้น ตารางวาละ 350,000 - 850,000บาท
- ถนนเพลินจิต ตลอดสาย เพิ่มขึ้น ตารางวาละ 430,000 บาท
- ถนนราชดำริ แยกศาลาแดงถึงแยกราชประสงค์ เพิ่มขึ้น ตารางวาละ 700,000 บาท
- ถนนเยาวราช ตลอดสาย เพิ่มขึ้น ตารางวาละ 350,000 - 550,000 บาท
- ถนนวิทยุ เพิ่มขึ้น ตารางวาละ 500,000-700,000 บาท เพิ่มขึ้น 42.86-100% ตารางวาละ 350,000 บาท
- ถนนสาทร ตารางวาละ 450,000-600,000 บาท เพิ่มขึ้น 12.5-42.8% หรือตารางวาละ 330,000-400,000 บาท
พื้นที่ที่มีราคาประเมินสูงสุดในส่วนภูมิภาค
โดยภาคกลาง
ตารางวาละ 150,000 บาท คือ จังหวัดนนทบุรี-อำเภอเมือง ย่านถนนงามวงศ์วาน จังหวัดสมุทรปราการ-อำเภอเมือง ถนนศรีสมุทร ถนนประโคนชัย ถนนด่านเก่า ถนนกายสิทธิ์ หรือ ตลาดปากน้ำ
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่มีราคาประเมินต่ำสุด
โดยกรุงเทพฯตารางวาละ 500 บาท เขต บางขุนเทียน ซึ่งเป็นที่ดินบริเวณชาย ทะเลไม่มีทางเข้าออก และภาคกลางตารางวาละ 10 บาท จังหวัดอุทัยธานี-อำเภอบ้านไร่”
ที่อยู่และเบอร์โทรสำนักงานที่ดินในเขตกรุงเทพ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา :กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
|