PRN บริการรับฝากขาย-ให้เช่าที่ดิน บ้าน คอนโด โดยทีมงานมืออาชีพ ให้คำปรึกษาฟรี 094-2353251

ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน

ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน



ค่าใช้จ่าย ในการซื้อขายบ้าน ที่ดิน ณ กรมที่ดินมีรายการที่จะต้องเสียดังต่อไปนี้

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% 
ของราคาประเมินหรือราคาขาย ราคาไหนสูงกว่าก็ใช้ราคานั้นคิด
  • ค่าอากร 0.5%
ของราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน ถ้าต่ำกว่าให้ใช้ราคาประเมินคำนวณ
  • ค่าภาษี ธุรกิจเฉพาะ 3.3% 
ของราคาขาย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ จะคิดกับอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาแล้วขายออกไปภายในเวลา ไม่เกิน 5 ปี (หากมีการย้ายทะเบียนบ้านเจ้าบ้านเข้าอยู่ เกินกว่า 1 ปี ได้รับยกเว้นค่าภาษีนี้) ทรัพยสินที่เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้แล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรในข้อ 2
  • ค่าภาษีเงินได้ (ภงด.) มีการคิดแบบ ขั้นบันไดภาษี หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามจำนวนปีถือครอง (หลายขั้นตอน)


  • ค่าจดจำนอง หากบ้าน หรือที่ดิน  จำนองต่อกับธนาคาร จะเสียค่าจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง 
  • ค่าอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ 20บาท ค่าอากรตาม ป.37 5 บาท ค่าพยาน 20บาท




การคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ 
  • ค่า ภงด.จะต้องหาราคาประเมินที่ดิน ราคาประเมินสิ่งก่อสร้าง จำนวนปีถือครองแล้ว มาหักค่าเสื่อม ฯลฯ อีกหลายขั้นตอน ลองคิดแบบโดยประมาณ คร่าวๆ คือ คชจ.ทั้งหมดยกเว้น ข้อ5 . ให้คำนวณจากราคาประเมิน คูณ 5%)
  • หรือ คำนวณค่าใช้จ่ายการโอนของกรมที่ดิน




ข้อมูลค่าธรรมเนียมการโอนบ้านที่ดิน/คอนโด

มีคำถามเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนอยู่บ่อยๆ รวบรวมข้อมูลมาไว้ที่เดียวกัน 

ค่าธรรมเนียมการโอน:

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) = ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

2. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) = 2 % จากราคาประเมินของกรม

3. ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) = 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนที่กู้ทั้งหมด)

4. ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) = 0.50% ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม

5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินหนึ่งปี) = 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม


  • โดยทั่วไปค่าภาษีเงินได้ ผู้ขาย ควรเป็นผู้ออก
  •  ส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อ ควรเป็นผู้ออก 
  • ส่วนค่าธรรมเนียมส่วน อื่น แล้วแต่ตกลงกัน ว่าใครจะออกเท่าใด (จะออกคนละครึ่งหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด)   
  • แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้องออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางรายอาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือ ผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออกทั้งหมด (โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆ เหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว)
  • ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลงซื้อขายหรือก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีการโต้เถึยงเกิดขึ้นได้ในวันโอน 

         ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันภายหลังและไม่สามรถซื้อขายกันได้แม้อยู่ที่กรมที่ดินแล้วก็ตาม        

         ผู้ซื้อบ้านจากโครงการ ก็ควรอ่านรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนให้ละเอียด บางโครงการที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ มักปัดภาระมาให้ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายในการโอนทั้งหมด ซึ่งดูไม่ค่อยจะยุติธรรมสำหรับผู้ซื้อเท่าไหร่


คำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์โดยกรมที่ดิน:


ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน


กระทู้ถามตอบข้อสงสัย

- ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน
- ค่าอากรแสตมป์ ถือครองเกิน 5 ปีคิด 0.5% ของราคาที่สูงกว่า
แต่ถ้าไม่ถึง 5 ปีจะไม่คิด ให้ไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแทน
- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดเฉพาะถือครองไม่ถึง 5 ปี
คิดที่ 3.3% ของราคาที่สูงกว่า ถ้าเสียตรงนี้ก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- ภาษีเงินได้ของผู้ขาย คิดตามปี ต้องไปดูรายละเอียดการคำนวนต่างหาก
- ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (กรณีขอสินเชื่อธนาคาร)

คือ ต้องแยกรายละเอียดก่อนว่าค่าอะไร
บางอันคิดจากราคาประเมิน บางอันคิดจากราคาสูงสุดระหว่างราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย

ค่าธรรมเนียมการโอนก็คิดจาก ยอดเงินซื้อขายครับ แต่.....
แต่มันมีพวกหัวใสครับ แจ้งยอดซื้อขายถูกๆ หรือไม่ก็แจ้งว่าโอนให้เฉยๆไม่คิดเงิน
เลยต้องมีราคากลางขึ้นมาครับ เพื่อป้องกันว่า ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม รัฐจะต้องเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่ต่ำกว่าราคากลาง (ราคากลางก็คือราคาประเมิน)

ตามปกติที่ถูกต้องตามกฏหมาย เจ้าหน้าที่ที่ดินจะต้องสอบถามราคาซื้อขายครับ
และเทียบกับราคาประเมิน ถ้าตัวไหนสูงกว่าให้เอาราคาตัวนั้นมาคิดค่าธรรมเนียมครับ
แต่ในทางปฏิบัติจริง เวลาโอนมักจะซิกแซกกันเป็นโอนในราคาประเมินไปเลย (เพราะเป็นราคาต่ำสุด ต่ำกว่านี้ไม่ได้แล้ว)  เพื่อจะได้เลี่ยงเสียค่าโอนกันถูกๆครับ



สรุปอีกทีคือ

1. ถ้าเป็นการโอนที่มีคนอำนวยความสะดวกให้เช่นการโอนบ้านแล้วติดจำนองของแบงค์ ปกติแบงค์เค้าจะอำนวยความสะดวกเคลียร์หน้าเสื่อให้แล้ว ดังนั้นค่าโอนจึงมักจะคิดจากราคาประเมินครับ

2. ถ้าเป็นการโอนกันเอง กรณีทั้งคนซื้อและคนขายไม่รู้เรื่องมาก่อน(มือใหม่ทั่วคู่) ก็จะโดนเจ้าหน้าที่ถามราคาซื้อขาย ถ้าดันตอบไปแพงกว่าราคาประเมินก็จะโดนค่าธรรมเนียมจากราคาซื้อขายครับ ถ้าตอบถูกกว่าราคาประเมินก็ได้ราคาประเมินครับ

3. ถ้าเป็นการโอนกันเอง และคนซื้อหรือคนขายรู้มาก เตี๊ยมกันมาก่อนและมีการเช็คราคาประเมินเรียบร้อย ถ้าโดนถามก็บอกราคาไปให้ต่ำกว่าราคาประเมิน เจ้าหน้าที่เค้าก็จะใช้ราคาประเมินคิดค่าธรรมเนียมครับ
----------------------
ส่วนค่าอื่นๆ ก็คิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ


- ค่าอากรแสตมป์ 

ปกติจะตามราคาซื้อขายจริงเท่านั้นครับ เว้นแต่ซื้อขายกันต่ำกว่าราคาประเมินจริงๆ(เน้นว่าจริงๆ) ถึงจะใช้ราคาประเมินครับ (อันที่จริงมันก็หลักการราคาอันไหนสูงกว่าเอาอันนั้นเหมือนเดิม)

เพราะอากรแสตมป์ ปิดตามราคาซื้อขายเพื่อประโยชน์ของคนซื้อและคนขายครับ ถ้าปิดต่ำกว่าเกิดคนซื้อเบี้ยวขึ้นมาคนซื้อสามารถจ่ายเงินแค่เฉพาะตามจำนวนที่ปิดอาการแสตมป์ได้ครับ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นคนขายไม่สามารถไปฟ้องร้องอะไรได้ด้วยนะครับ เพราะศาลถือราคาซื้อขายตามอากรแสตมป์ที่ติดครับ (ในทางเดียวกันถ้าติดเกิน คนขายก็โกงคนซื้อได้ โดยฟ้องเรียกเงินเพิ่มได้)


- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 

คิดเฉพาะถือครองไม่ถึง 5 ปี คิดที่ 3.3% ของราคาที่สูงกว่า ถ้าเสียตรงนี้ก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์

เห็นไหมครับว่าตรงนี้ก็เข้าหลักการเดิมคืออันไหนสูงกว่าเอาอันนั้น เพราะภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีของสรรพภากรครับ(จึงมั่วราคาไม่ได้ ไม่เหมือนค่าโอนที่ไม่มีบทลงโทษอะไร) ลองมั่วราคาไปสิครับโดยภาษีย้อนหลังอาน เพราะเงินซื้อขายมันไม่ใช่จำนวนน้อยๆ มันมีหลักฐานหาได้อยู่แล้วว่าซื้อขายกันเท่าไหร่

- ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง
อันนี้ตรงๆครับ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง ก็ย่อมขึ้นกับยอดจำนอง




ขอบคุณครับ

โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส.

“โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส. เพื่อคุณ”

“โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส. เพื่อคุณ”
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินและทำนิติกรรมภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2562
ทั้งนี้ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว เนื่องจากมีวงเงินจำกัดกำหนดเงื่อนไขการให้วงเงินลูกค้าที่ทำนิติกรรมก่อนได้สิทธิก่อน

วัตถุประสงค์การยื่นกู้

  • เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
  • เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัยพร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลัก
หมายเหตุ
  • นิยามคำว่า “อาคาร”หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นแฟลตและบ้านเช่า
  • เป็นการกู้ใหม่ โดยการถือกรรมสิทธิ์ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อรายย่อย

วงเงิน / ระยะเวลาผ่อน

วงเงิน

  • วงเงินให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2,000,000 บาท

ระยะเวลาผ่อน

  • ไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน และไม่เกิน 40 ปี โดยอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้น กรณีข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่นๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

อัตราดอกเบี้ย

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ
ปีอัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1
= 3.00% ต่อปี
ปีที่ 2 
= 4.00% ต่อปี
ปีที่ 3
= 5.00% ต่อปี
ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา= MRR-0.75% ต่อปี
ยกเว้นกรณีกู้ซื้ออุปกรณ์= MRR
  • กรณีขอกู้ซื้ออุปกรณ์ฯ พร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลักที่มีการแบ่งจ่ายเงินกู้เป็นงวดตามผลงานการก่อสร้าง บัญชีซื้ออุปกรณ์ฯ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตลอดอายุสัญญา เท่ากับ MRR

ค่าธรรมเนียม / ค่าใช้จ่าย

ผู้กู้ได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้
  1. ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (0.1% ของวงเงินกู้)
  2. ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติ

  • ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ (Gross) ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน
  • ไม่มีประวัติการผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับ ธอส. และสถาบันการเงินอื่น

เอกสาร

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

เอกสารทางการเงิน

พนักงานประจำ
  • ใบรับรองเงินเดือน / หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ)
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  • สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
  • รูปถ่ายกิจการ

เอกสารหลักประกัน

  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะและหนังสือรับรองยอดคงเหลือ (กรณีซื้อ)
  • หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอ เลขหมายบ้าน สำเนาสัญญาซื้อขายฉบับสำนักงานที่ดิน (ทด.13 หรือ อ.ช.23)
  • สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
  • สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า  
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
  • แบบแปลน
  • ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  • อื่น ๆ (ถ้ามี)
หมายเหตุ **  ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารต่างๆของผู้กู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร **