บริการรับฝากขาย-เช่าที่ดิน บ้าน คอนโด ทำโฆษณาให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทร 094-6561965

อาคารพาณิชย์กับตึกแถวต่างกันอย่างไร


อาคารพาณิชย์ต่างจากตึกแถวอย่างไร

อาคารพาณิชย์

1. "อาคารพาณิชย์" หมายความว่า และให้หมายรวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่างจากถนนหรือทางสาธารณะไม่เกิน20เมตร ซึ่ง อาจใช้เป็นอาคาร เพื่อประโยชน์ ในการ พาณิชยกรรมได้
ข้อความตรงนี้ไม่ชัดเจนและเปิดโอกาศ ให้โต้แย้งกันไม่สิ้นสุดได้ว่า อาคารที่จะขอฯนี้ อาจใช ้เป็นพาณิชยกรรมได้ และใครจะเป็นผู้กำหนดว่าอาจใช้หรือไม่อาจใช้ ให้หมายรวมถึง อาคาร ใดบ้าง
ที่นี้ " อาคารอยู่อาศัย "ที่สร้างติดถนนทั่วไป ก็อาจเป็นอาคารพาณิชย์ได้หมด ซึ่งเมื่อเป็น พาณิชยกรรม เมื่อไร ก็ต้อง
-ช่องทาง เดินในอาคาร ต้องกว้าง 1.50เมตรด้วย (ข้อ 21)
-บันได ต้อง กว้าง 1.20 (ข้อ24)
(ที่มา : สถาปนิกตอบปัญหา)

2.กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 21
ข้อ 21 ช่องทางเดินในอาคาร ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
- อาคารพักอาศัย กว้าง 1.000 ม.
- อาคารอยู่อาศัยรวม หอพักความกฎหมายว่าด้วยหอพัก สำนักงาน อาคารสาธารณะ อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารพิเศษ กว้าง 1.50 ม.

3.กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 24
ข้อ 24 บันไดของอาคารอยู่อาศัยรวม หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก สำนักงานอาคารสาธารณะ อาคารพาณิชย์ โรงงาน และอาคารพิเศษ สำหรับที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไป


- รวมกันไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร
- แต่สำหรับบันไดของอาคารดังกล่าวที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือ ขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร 


- ถ้าความกว้างสุทธิของบันไดน้อยกว่า 1.50 เมตร ต้องมีบันไดอย่างน้อยสองบันไดและแต่ละบันไดต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร


- บันไดของอาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก เช่น บันไดห้องประชุมหรือห้องบรรยายที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดห้องรับประทานอาหารหรือสถานบริการที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดของแต่ละชั้นของอาคารนั้นที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร อย่างน้อยสองบันได ถ้ามีบันไดเดียวต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร


- บันไดที่สูงเกิน 4 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 4 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือ ขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร


- ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้าง สุทธิของบันได เว้นแต่บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 2 เมตร ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดจะมีความยาวไม่เกิน 2 เมตรก็ได้


- บันไดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร และต้องมีราวบันไดกันตก 


- บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 6 เมตร และช่วงบันไดสูงเกิน 1 เมตร ต้องมีราวบันไดทั้งสองข้าง บริเวณจมูกบันไดต้องมีวัสดุกันลื่น

4.ตึกแถว (อาคารพาณิชย์) ต้องมีหน้ากว้างไม่ต่ำกว่า 4.00 ม.มีขนาดตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไปและต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟเท่านั้น

5.ชั้นล่างต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 30 ตร.ม. (4.00x7.50 ม.)

6.สร้างได้ยาวสุดไม่เกิน 24.00 ม
(เกิน 16.00 ม. ต้องมีช่องเปิดโล่ง 10% ของพื้นที่ชั้นล่าง)

7.สร้าง ได้ติดต่อกันสุงสุด 10 ห้อง (4x10=40.00 ) แล้วต้องเว้นว่าง 4.00 ม. (แยกโครงสร้างด้วย แต่ตรงนั้นสามารถทำเป็นรั้วแยกฝั่งละ 2.00 ม.ได้)

8.กันสาดด้านหน้าต้องสูงจากทางเท้าไม่น้อยกว่า 3.25 ม.

9.ระดับความสูงชั้นล่างต้องสูงกว่าพื้นทางเท้า 0.10 ม.

10.ระยะร่นหลังอาคารต้องไม่น้อยกว่า 3.00 ม.
(ทำบันไดหนีไปยื่นเข้าไปได้ไม่เกิน 1.40 ม.)

11.ด้าน ข้างหากสร้างใหม่ ต้องห่างออกมาจากที่ดินคนอื่นไม่น้อยกว่า 2.00 ม.(แม้แต่เป็นผนังทึบ)แต่หากสร้างทดแทนอาคารเดิม สามราถปลูกได้เท่ากับพื้นที่เดิม แต่ต้องไม่สูงเกิน 15.00 ม.

12.ด้านหน้า ถ้าไม่ติดทางสาธารณะต้องเว้น 6.00 ม.
หากติดทางสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 10.0 ม.ต้องเว้นระยะจากศูนย์กลาง
ถนนไม่ต่ำกว่า 6.00 ม
หากถนนสาธารณะกว้าง 10.00-20.00 ม.ต้องเว้น 1/10 ความกว้างถนน
หากถนนสาธารณะกว้าง 20.00 ม.ขึ้นไปต้องเว้น 2.00 จากแนวที่ดิน

13.ความสูงของตึกแถว (อาคารพาณิชย์) ชั้นล่างต้องไม่ต่ำกว่า 3.50 ม. ชั้นอื่นไม่ต่ำกว่า 3.00 ม ชั้นลอย 2.40 ม.
(ชั้นลอยไม่นับเป็นความสูงชั้น)

14.อาคารที
- สูง 4 ชั้น
- สูง 3 ชั้น แต่มีพื้นที่ดาดฟ้าเกิน 16.00 ตร.ม.
ต้องมีบันไดหนีไฟ

15.บันไดหนีไฟ
- บันไดหนีไฟสามารถยื่นเข้าไปในพื้นที่ว่าง ได้ 1.40 ม.
- ต้องก่อล้อมด้วยวัสดุทนไฟ แต่มีพื้นที่ระบายอากาศ(ช่องเปิด) รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1.40 ตร.ม.
- ชันได้ไม่เกิน 60 องศา มีชานพักทุกชั้น
- ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.ยาวไม่น้อยกว่า 80 ซม.
- ประตูบันไดหนีไฟ ต้องเป็นประตูทนไฟ มีโช๊คอัพติด เปิดผลักเข้าสู่บันไดหนีไฟในชั้น 2 ขึ้นไป ชั้นล่างเปิดออกสู่ที่โล่ง
- หน้าบันไดหนีไฟต้องมีพื้นว่างยาวไม่น้อยกว่า 1.50 ม.
- มีป้ายบอกชั้น ป้ายบอกบันไดหนีไฟเรืองแสง มีไฟฉุกเฉิน

16.อาคาร สูงไม่เกิน 2300 ม. ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีลิฟท์หรือลิฟท์ดับเพลิง (แต่ในทางปฎิบัติมักใช้แค่ 5 ชั้นกรณีไม่มีลิฟท์/ 6 ชั้นขึ้นไปควรมีลิฟท์)

17.ติดตั้งระบบเตือนอัคคีภัยแสดงในแบบขออนุญาติ




การแบ่งประเภทของอาคารตามกฎกระทรวง และ เทศบัญญัตินครกรุงเทพฯ

โดยแบ่งตามลักษณะและประเภทของอาคารใช้งาน และจะอธิบายเพิ่มเติมไว้พอเข้าใจ

“บ้านแถว” หมายความว่า ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารแต่ละคูหา

ตึกแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหา และประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

“ห้องแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไปมีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหา และประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้น “บ้านแถว” แบ่งเป็น “ตึกแถว” กับ “ห้องแถว” แต่ว่าแตกต่างกันตรงที่ ตึกแถวทำจากวัสดุทนไฟ แต่ห้องแถว ทำจากวัสดุไม่ทนไฟ ซึ่งวัสดุทนไฟก็คือ วัสดุก่อสร้างที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง

“บ้านแฝด” หมายความว่า อาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก่อสร้างติดต่อกันสองบ้าน มี ผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับอาคารด้านหน้าด้านหลังและด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน * มีแค่ 2 บ้านน่ะครับ ถ้าเกินกว่าสองบ้านจะเปลี่ยนประเภทเป็น บ้านแถว ไป

“โรงงาน” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

“อาคารเก็บของ” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่ สำหรับเก็บสินค้าหรือสิ่งของ เพื่อประโยชน์ของเจ้าของอาคารซึ่งมีปริมาตรที่ใช้เก็บของไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ การวัดความสูงเพื่อคำนวณปริมาตร ให้วัดจากพื้นชั้นนั้นถึงยอดผนังสูงสุด

“อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด

“อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคาร หรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภทโดยมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป

“อาคารจอดรถ” หมายความว่า อาคารหรือส่วนของอาคารที่ใช้สำหรับจอดรถ ตั้งแต่ 10 คันขึ้นไป หรือมีพื้นที่จอดรถ ทางวิ่ง และที่กลับรถในอาคาร ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป




อาคารพาณิชย์” หมายความว่า อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรม หรือบริการธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตเทียบไม่เกิน 5 แรงม้า

“อาคารพิเศษ” หมายความว่า อาคารที่ต้องการมาตรฐานความมั่งคงแข็งแรงและ ความปลอดภัยเป็นพิเศษ เช่น อาคารดังต่อไปนี้
โรงมหรสพ อัฒจันทร์ หอประชุม หอสมุด หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือศาสนสถาน
อู่เรือ คานเรือ หรือท่าจอดเรือ สำหรับเรือขนาดใหญ่เกิน 100 ตันกรอส
อาคารหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสูงเกิน 15 เมตร หรือสะพานหรืออาคารหรือโครง หลังคาช่วงหนึ่งเกิน 10 เมตร หรือมีลักษณะโครงสร้างที่อาจก่อให้เกิดภยันตรายต่อสาธารณชนได้
อาคารที่เก็บวัสดุไวไฟ วัสดุระเบิด หรือวัสดุกระจายพิษหรือรังสีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

“อาคารสรรพสินค้า” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่สำหรับแสดงหรือขายสินค้าต่าง ๆ และมีพื้นที่ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป โดยมีการแบ่งส่วนของอาคารตามประเภทของสินค้าหรือตามเจ้าของพื้นที่ ไม่ว่าการแบ่งส่วนนั้นจะทำในลักษณะของการกั้นเป็นห้องหรือไม่ก็ตาม โดยให้หมายความรวมถึงอาคารแสดงสินค้าด้วย

“อาคารสาธารณะ” หมายความว่า อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมได้โดยทั่วไปเพื่อกิจกรรมทางราชการ การเมือง การศึกษา การสังคม การศาสนา การนันทนาการ หรือการพาณิชยกรรม เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา หอสมุด สนามกีฬากลางแจ้ง สถานกีฬาในร่ม ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานบริการ ท่ออากาศยาน อุโมงค์ สะพาน อาคารจอดรถ สถานีรถ ท่าจอดเรือ โป๊ะจอดเรือ สุสาน ฌาปนสถาน ศาสนสถาน เป็นต้น

“อาคารอยู่อาศัย” หมายความว่า อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราว

“อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้ เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว มีห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดิน ทางเข้าออก และทางขึ้นลง หรือลิฟต์แยกจากกันหรือร่วมกัน ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงหอพักด้วย

“อาคารชุด” หมายความว่า อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

อาคารชุด ก็คือ คอนโด ส่วน อาคารอยู่อาศัยรวม ก็คือ อาพาทเมนท์ หรือหอพักนั้นเอง อาคารชุดอาจจะปรับเปลี่ยนเป็น อาคารอยู่อาศัยรวมได้ และอาคารอยู่อาศัยรวมโดยมากแล้วไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นอาคารชุดเพื่อขายได้ เพราะกฎหมายควบคุมอาคารชุดมีความเข้มข้นต่างกันมากครับ

อาคารแต่ละประเภทนั้นก็จะมีกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ตั้งแต่การออกแบบ, น้ำหนักบรรทุกของอาคารที่สามารถรับได้, การวางผังอาคาร และองค์ประกอบอาคารต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารเป็นหลัก



ส่วนการแบ่งประเภทอาคาร ตามอายุการใช้งาน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทอาคารชั่วคราว คือ อาคารที่มีกำหนดเวลารื้อถอน อาคารสนาม หรือ อาคารที่กำหนดอายุใช้งาน 1-5 ปี
ประเภทอาคารกึ่งถาวร คือ อาคารที่สร้างขึ้นมีอายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี
ประเภทอาคารถาวร เช่น โรงเก็บเครื่องบิน ตึกแถว ตึกที่ทำการและอาคารต่างๆ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 15 ปีขึ้นไป


เครดิต: softbizplus.com
www.bloggang.com/viewblog.php?id=tzu149&date=05-09-2010&group=10&gblog=6