บริการรับฝากขาย-เช่าที่ดิน บ้าน คอนโด ทำโฆษณาให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทร 094-6561965

เอกสารการกู้ซื้อบ้าน การขอสินเชื่อธนาคาร

หลักฐานที่จะต้องนำไปให้ธนาคาร
ในการกู้เงินมีอะไรบ้าง ?

เอกสารการกู้ซื้อบ้าน
บ้าน ที่อยู่อาศัยปัจจัยที่จำเป็นของมนุษย์
ในการกู้เงินซื้อบ้าน หรืออาคารชุด สถาบันการเงินมักจะกำหนดให้ผู้ขอกู้ 
จะต้องนำหลักฐานต่างๆต่อไปนี้ โดยครบถ้วน

1) หลักฐานประจำตัว ได้แก่
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัว
  • ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)

2) หลักฐานเกี่ยวกับรายได้ ได้แก่
  • ผู้มีรายได้ประจำ
ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง
สมุดบัญชีงินฝากธนาคาร
  •  ผู้มีอาชีพอิสระ
สำเนาทะเบียนการค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
บัญชีเงินฝาก พร้อม statement บัญชีเงินฝากกระแสรายวันย้อนหลัง 6 เดือน
หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ

หลักฐานการซื้อขาย

3) หลักฐานเกี่ยวกับหลักทรัพย์และการซื้อขาย
  • สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิห้องชุด
  • แผนที่แสดงทำเลที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน
  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
  • ถ้าเป็นการซื้อห้องชุด ต้องมีสำเนาหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุด รายละเอียดทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง
4) หลักฐานอื่นๆ
กรณีขอกู้เพื่อการปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร ต้องมี
  • แบบก่อสร้างอาคาร
  • หนังสืออนุญาตปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร
  • หนังสือสัญญาจ้างปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร
  • กรณีกู้เพื่อไถ่ถอนจำนอง ต้องมี
- สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม
- statement การผ่อนชำระค่างวด ใน 6 เดือนสุดท้าย

สำคัญกรณีมีผู้กู้ร่วม 
  จะต้องมีหลักฐานส่วนตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วมด้วยโดยปกติ ผู้ขอกู้จะต้องเตรียมหลักฐานต่างๆดังกล่าว โดยครบถ้วนในวันยื่นกู้หากไม่ครบ เจ้าหน้าที่อาจจะไม่รับเรื่อง หรืออาจรับเรื่องไว้และให้ผู้ขอกู้นำหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ซึ่งผู้ขอกู้ควรจะนำมาให้เจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน เพื่อจะไม่ทำให้การวิเคราะห์และอนุมัติกู้ล่าช้าออกไป


กู้ซื้อบ้าน

เอกสารที่ต้องเตรียมในการกู้ซื้อบ้าน

  • เอกสารส่วนตัว
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ ( ทั้งผู้กู้และคู่สมรสของผู้กู้หลัก / ร่วม )
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล( ทั้งผู้กู้และคู่สมรสของผู้กู้หลัก / ร่วม )
  • กรณีสมรสจดทะเบียน : สำเนาทะเบียนสมรส กรณีสมรสไม่จดทะเบียน : หนังสือยืนยันสถานภาพการสมรส, สูติบัตรบุตร
  • กรณีหม้าย : ใบสำคัญการหย่า, ใบมรณะบัตร หรือใบแจ้งความเลิกร้างกับคู่สมรส
  •  หลักฐานอื่นๆกรณีขอกู้เพื่อการปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร ต้องมี

แบบก่อสร้างอาคาร

  • หนังสืออนุญาตปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร
  • หนังสือสัญญาจ้างปลูกสร้างหรือต่อเติมอาคาร
  • กรณีกู้เพื่อไถ่ถอนจำนอง ต้องมี
  • สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม
  • statement การผ่อนชำระค่างวด ใน 6 เดือนสุดท้าย


สินเชื่อ k bank  กสิกร

กรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานส่วนตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วมด้วยโดยปกติ ผู้ขอกู้จะต้องเตรียมหลักฐานต่างๆดังกล่าว โดยครบถ้วนในวันยื่นกู้หากไม่ครบ เจ้าหน้าที่อาจจะไม่รับเรื่อง หรืออาจรับเรื่องไว้และให้ผู้ขอกู้นำหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ซึ่งผู้ขอกู้ควรจะนำมาให้เจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน เพื่อจะไม่ทำให้


การวิเคราะห์และอนุมัติกู้ล่าช้าออกไป
เทคนิคเลือกธนาคาร เพื่อกู้เงินซื้อบ้าน

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
         ดูว่าธนาคารมีลักษณะของการคิดอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบที่ต้องการหรือ ไม่ เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ ,อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงแรกจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ฯลฯ จากนั้น จึงดูที่อัตราดอกเบี้ยว่า ที่ใดสูงหรือต่ำกว่ากัน
  •  เรื่องค่าใช้จ่ายในการกู้
             เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บ เช่น ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน,ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้,ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอน จำนองก่อนกำหนด
  • ธนาคารใดยอมให้กู้และให้กู้ในเงื่อนไขใดบ้าง
แต่ละธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติผู้กู้และปัจจัยอื่น ๆ ที่ แตกต่างกัน เช่น รายได้ของผู้กู้ ธนาคารจะต้องคำนวนรายได้ต่อปีของผู้กู้ และนำมาเปรียบเทียบกับวงเงินที่ขอกู้ และพิจารณาว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระตามหลักเกณฑ์ของธนาคารหรือ ไม่ ธนาคารอาจใช้มูลค่าบ้านจากราคาประเมิน ไม่ใช่ราคาจริงที่ซื้อขายเป็นหลักเกณฑ์ในการอนุมัติเงินกู้ ดังนั้น วงเงินกู้อาจจะไม่เพียงพอกับราคาบ้านที่ซื้อขายจริง นอกจากนี้ ธนาคารจะพิจารณาจากอายุของท่าน ถ้าอายุมากก็อาจให้ระยะเวลายืมสั้น เป็นต้น






ข้อควรระวัง :   กว่าที่จะทราบว่าท่านได้รับการอนุมัติให้กู้หรือไม่ คุณต้องทำเรื่องยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารไปแล้วในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นหากไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้หรือได้วงเงินกู้น้อยกว่าที่มีเงิน ดาวน์ คุณอาจไม่สามารถซื้อบ้านที่ต้องการได้และถูกยึดเงินมัดจำหรือเงินจองได้ ดังนั้น ในการทำ "สัญญาจะซื้อจะขาย" ควรขอเวลาในการชำระเงินเพื่อซื้อ อย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือน เพื่อให้มีโอกาสในการยื่นเรื่องกับธนาคารที่สอง หรือไม่ก็ควรยื่นเรื่องขอสินเชื่อไว้กับหลายๆ ธนาคารทีเดียวพร้อมกันแต่ทั้งนี้ ท่านอาจจะเสียค่าธรรมเนียมยื่นกู้หรือค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน โดยรวมประมาณ 2 ถึง 4 พันบาทต่อธนาคารแต่ก็มีบางธนาคาร ซึ่งจะดูเรื่องการอนุมัติเงิน ก่อนว่า ให้หรือไม่ให้และให้เท่าใด แล้วจึงประเมินมูลค่าหลักประกัน คุณจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ก่อนที่จะทราบว่า กู้ได้หรือไม่


การเลือกซื้อ บ้านมือสอง ที่ดี

เน้นคุณสมบัติ 3 ประการ
คือ ราคาถูก  เพื่อนบ้านดี  ทำเลเด่น

  • ดูทำเล บ้านมือสอง เน้นพื้นที่ในย่านที่กำลังมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือฟื้นฟูจากสภาพไม่น่าอยู่
  • สำรวจสภาพแวดล้อม และเพื่อนบ้านโดยเข้าไปพูด คุยสำรวจสอบถามเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในสภาพแวดล้อมควร เน้นเลือกแหล่งที่ยังคงเจริญต่อไป และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อชีวิตประจำวัน เช่น ใกล้โรงเรียน ศูนย์การค้า ตลาด และโรงพยาบาล ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าน้ำจะต้องไม่ท่วมและไม่มีมลภาวะทางกลิ่น แสง และเสียง
  • สภาพ บ้านมือสอง  เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะมูลค่า บ้านมือสอง นอกจากจะขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณสินค้าในตลาดแล้วยังขึ้นอยู่กับ ลักษณะตัว บ้านมือสอง เองด้วย ให้ท่านสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินด้วยตัวเอง เช่น ตรวจดูขนาดทรัพย์สินว่าเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์หรือเปล่า สภาพทรัพย์สิน การปรับปรุงทรัพย์สิน และการจัดการทรัพย์สิน
  • ซื้อ บ้านมือสอง ที่ราคาค่าเช่าต่ำกว่าราคาเช่าในท้องตลาด เพราะเราสามารถเพิ่มค่าเช่าได้
  • เลือกซื้อ บ้านมือสอง ที่มีเงื่อนไขเงินกู้สนับสนุน เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด หรืออัตราดอกเบี้ย 0% เพราะผลประโยชน์เหล่านี้คือส่วนลดจากราคาซื้อ บ้านมือสอง นั่นเอง
  • สอบถามเรื่องบริการชุมชน จากเพื่อนว่างานสารธาณูป โภคตลอดจนค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นอย่างไร การดูแลรักษาสภาพโครงการสม่ำเสมอ และเหมาะสมหรือไม่
  • ตรวจข้อมูลเกี่ยวกับการจำนอง บ้านมือสอง เดิมกับสถาบันการเงินให้ชัดเจนรวมถึงภารผูกพันและสัญญาเช่าเดิมที่มีอยู่กับ ผู้อาศัยในปัจจุบันเพระผู้ซื้ออาจมีปัญหาการส่งค่างวด หรือค่าบริหารทรัพย์สินส่วนกลางต้องคุยรายละเอียดในเงื่อนไขเหล่านี้ให้ ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
  • ต้องคุยเรื่องค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอน บ้านมือสอง ที่จะซื้อ และภาษีให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับภาระ
  • เปรียบเทียบกับราคาประเมินบ้านที่มีอยู่แล้ว เช่น ราคาซื้อขาย บ้านมือสอง ที่คล้ายคลึงในบริเวณที่ใกล้เคียง ราคาประเมินของกรมที่ดิน ของธนาคาร และบริษัทประเมิน
  • ต่อรองราคาให้ราคาต่ำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ การต่อรองราคาถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ต้องใช้เสมอ ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายขั้นสุดท้าย ให้ระลึกไว้เสมอว่าเงินทุกบาทที่ท่านต่อรองซื้อได้ต่ำกว่าราคาเสนอขาย นั่นหมายถึงกำไรที่จะตกมาถึงท่านในที่สุดนั่นเอง
  • ตรวจสอบและขอหลักฐานเก่าๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสัญญาเดิมเอาไว้ เพราะเอกสารเหล่านี้มีผลในการบังคับให้เจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามที่ตกลง หรือสัญญาที่เคยระบุไว้
  • การใช้บริการของบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จัดเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเลือกซื้อ บ้านมือสอง อย่างชาญฉลาดทางหนึ่ง เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้มี บ้านมือสอง มาให้เลือกมากขึ้น และยังมีโอกาสให้มีคำแนะนำและการช่วยเหลือในด้านต่างฯ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ บ้านมือสอง ด้วย เช่น การพาไปดูบ้าน การติดต่อสถาบันการเงิน การหาราคาประเมิน ซึ่งบริการเหล่านี้มักไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือหากเสียก็น้อยมาก