 |
ผังเมืองกรุงเทพ |
เรื่องน้ำท่วมใหญ่แล้ว ปี 2554 ที่ผ่านมา ภาคอสังหาริมทรัพย์
ยังมีปัญหาใหญ่อีกเรื่องที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการจับตาอย่างใกล้ชิด
หลายคนทั้งชะลอดูท่าทีหลายคนพยายามวิ่งเต้นเรียกร้องหาทางออกที่เหมาะสม นั่นคือ ควาพยายามในการแก้ไข ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ฉบับใหม่ ซึ่งของเดิมหมดอายุการใช้งานไป ปัจจุบันอยู่ระหว่างต่อเวลาการปรับปรุงแก้ไขตามกรอบกฎหมาย
สาระสำคัญในร่างกฎหมายผังเมืองดังกล่าว ที่สำนัก
ผังเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพได้ประกาศออกมา กลายเป็นชนวนในการคัดค้านคือการเปลี่ยนแปลง "เกณฑ์ความกว้าง
ถนนในการก่อสร้างอาคาร" เช่น ความกว้าง
ถนนในการสร้างอาคารอยู่อาศัยรวมขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ก่อสร้างรวมเกิน 10,000 ตร.ม. จากเดิมที่พื้นที่สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) ย.8-ย.10 และพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) พ.4, พ.5 ตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์
ที่ดินฉบับ พ.ศ. 2549 กำหนดให้
ถนนและซอย ที่มีขนาด
ความกว้างถนนเกิน 10 เมตร สามารถสร้างได้ แต่ร่าง
ผังเมืองฉบับใหม่ เพิ่มเกณฑ์
ความกว้างถนนเป็น 16 เมตร จึงจะสร้างได้
หากมีการเปลี่ยนแปลงตามร่างดังกล่าวจริง ผลที่ตามมา คือ จะหาซอยในกรุงเทพฯ ที่มีความกว้างถนนถึงเกณฑ์ดังกล่าวได้ลำบาก ผู้ประกอบการจะสร้างตึกสูงในเมืองได้ยากกลายเป็น"ปมใหญ่" ที่พัฒนาสู่ "ศึกใหญ่" ระหว่างผู้ประกอบการและสำนักผังเมือง กทม.
ในช่วงแรกศึกนี้ฝ่ายสำนักผังเมืองได้เปรียบมาโดยตลอด ฐานะผู้มีอำนาจชงเรื่องและมีจุดยืนชัดเจนว่าจะใช้เกณฑ์ใหม่ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่ากรุงเทพฯ แออัดเกินกว่าระบบสาธารณูปโภคจะรับไหว จึงไม่ต้องการให้มีตึกสูงในซอยเพิ่มขึ้น
แต่ล่าสุดเกมพลิกตามคำชี้แจงของ นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและ
ผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการผังเมือง มท. เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา ต้องการให้สำนักผังเมืองกลับไปทบทวนเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเข้มงวดและรวดเร็วเกินไป อาจทำให้มีเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก จนพิจารณาไม่ทันช่วงต่ออายุครั้งสุดท้ายในเดือน พ.ค.ปีหน้า ส่งผลให้ผังเมืองขาดอายุ กรุงเทพฯ ไม่มีกฎหมายควบคุม จึงเสนอให้ กทม.ยึดแนวของผังเมืองรวม พ.ศ. 2549 ไปก่อน แล้วค่อยออก
ผังเมืองเฉพาะจุดควบคุมเฉพาะพื้นที่ตามหลัง หากเห็นว่าจำเป็น